โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพของสารสกัดจากผักบุ้งแดง (Lpomoea aquatic) ตำลึง (Coccinia grandis (L.) Voigt.) และบัวบก (Centella asiatica) ที่มีต่อผลการลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงใบกะเพรา (Ocimum sanctum)

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพร 3 ชนิด คือ ผักบุ้งแดง (Lpomoea aquatic) ตำลึง (Coccinia grandis (L.) Voigt.) และบัวบก (Centella asiatica) ที่มีต่อผลการลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงใบกะเพรา (Ocimum sanctum) ที่ปริมาณ 5 กรัม โดยใช้น้ำยาสำเร็จรูปชุดตรวจหาสารเคมีตกค้าง “จีที” (GT – Pesticide test kit) พบว่าเมื่อทำการแช่ใบกะเพราที่มียาฆ่าแมลงในสารสกัดสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดเป็นเวลา 30 นาที สารสกัดของตำลึงสามารถลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงในใบกะเพราได้ดีที่สุด ซึ่งตรวจพบปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ที่ระดับปลอดภัย จากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดของตำลึง เทียบกับสารละลายด่างทับทิม พบว่าสามารถลดสารพิษจากยาฆ่าแมลง โดยตรวจพบในระดับที่ปลอดภัย ส่วนผลจากสารละลายด่างทับทิม ตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง จะเห็นได้ว่าสารจากพืชสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการชะสารพิษที่มีอยู่ในผักออกมาได้ ส่งผลให้ปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักมีปริมาณที่ลดลง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณภัทร ประทีปเสถียรกุล

  • ณัฐนรี โกศล

  • ณัฐวีร์ เต็งไตรรัตน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลกันยานุกูล

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น เหรียญเงิน ภาคตะวันออก

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์