โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการสกัดและศึกษาประสิทธิภาพในการละลายโฟมโดยสารสกัดจากพริกไทย ผิวเปลือกส้มวาเลนเซีย และผิวเปลือกมะกรูด
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของเปลือกมะกรูดและพริกไทยสดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการรีไซเคิล ขยะโฟมจึงได้ทำการทดลองสกัดน้ำมันจากผิวของเปลือกมะกรูดและพริกไทยโดยวิธีการกลั่นแบบธรรมดา โดยพบว่าเปลือกมะกรูดสามารถให้สารสกัดน้ำมันได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ1.67 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบอัตราการละลายโฟมพอลิสไตรีนขนาด 4x4x0.3 เซนติเมตร ระหว่างสารสกัดจากพริกไทยสด ผิวเปลือกมะกรูด ผิวของเปลือกส้ม โทลูอีน เบนซีนและอะซิโตน อย่างละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร มาละลายโฟมพอลิสไตตรีนจนกระทั่งอิ่มตัว ซึ่งสารสกัดจากผิวเปลือกมะกรูด ใช้เวลาในการละลายโฟมพอลิสไตรีนได้น้อยที่สุด โดยสามารถละลายโฟมพอลิสไตรีนได้มากถึง 11 ชิ้น/ตัวทำละลาย 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับโทลูอีน เบนซีน และอะซิโตน พบว่าสารทั้ง 3 ชนิดมีประสิทธิภาพในการละลายโฟมมากกว่าสารสกัดจากผิวเปลือกมะกรูด แต่สารที่ได้จากการผสมระหว่าง โฟมโพลิสไตรีนกับสารสกัดน้ำมันจากผิวพืชวัตถุดิบ ไม่เป็นอันตรายจึงสามารถนำกลับมาดัดแปลงเพื่อเป็นพลาสติกใช้ในด้านอื่นได้ต่อเนื่อง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมพ์มาดา บุญหมื่น
ศุภกานต์ หน่อหล้า
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย รางวัลเชิดชูเกียรติ ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระบวนการรีไซเคิล
สมุนไพร สารกัด
โฟม กำจัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์