โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ด.ช.ศุภวิชญ์ รู้ปิติวิริยะ
ด.ช.อนุสรณ์ ยุทธแสน
อนุกูล เด็ดขาด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทย์ประยุกต์ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
จักรยาน
ด้านการปั่น
พลังงาน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง จักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการสร้างจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบ 2.เพื่อศึกษา เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบและเครื่องปั่นด้ายแบบพื้นบ้าน 3.ศึกษา เปรียบเทียบคุณภาพของเส้นด้าย ที่ได้จากจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบและเครื่องปั่นด้ายแบบพื้นบ้าน โดยมีวิธีดำเนินการทดลองดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาหลักการและวิธีสร้างจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบ โดยใช้โครงล้อจักรยานเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาต่อเข้ากับวงล้อตาม(เหล็กไน)ที่ใช้ควบเกลียวเส้นด้าย ได้เครื่องปั่นด้ายที่ประยุกต์จากวงล้อจักรยาน โดยใช้หลักการโยกคาน แกว่งวงล้อให้หมุนเพื่อขับเคลื่อนวงล้อ(ตาม)หรือเหล็กไนให้หมุนเพื่อควบเกลียวให้หมุนได้ ตอนที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบและเครื่องปั่นด้ายพื้นบ้าน พบว่า จักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบจะใช้เวลาในการปั่นด้าย ได้ความยาวของเส้นด้าย 10.33 m/s และเครื่องปั่นด้ายพื้นบ้านจะใช้เวลาในการปั่นด้าย ได้ความยาวของเส้นด้าย 2.7 m/s ตอนที่ 3 ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของเส้นด้ายที่ได้จากจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบและเครื่องปั่นด้ายพื้นบ้าน พบว่า เส้นด้ายที่ได้จากจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบ มีความเหนียวและความคงทนต่อน้ำหนักที่รับได้เท่ากับ 1,400 g. ต่อความยาวของเส้นด้าย 30 cm. แต่เส้นด้ายที่ได้จากเครื่องปั่นด้ายพื้นบ้านมีความเหนียวและความคงทนต่อน้ำหนัก 220 g. ต่อความยาวของเส้นด้าย 30 cm. เท่ากัน และคุณภาพของเส้นด้ายโดยใช้ปุ่มปมเป็นเกณฑ์ พบว่า ถ้าพบปุ่มปมมีมาก จะเป็นเส้นด้ายที่ไม่มีคุณภาพ ส่วนเส้นด้ายที่ได้จากจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบ ต่อความยาวของเส้นด้าย 12 cm. จะมีปุ่มปมเฉลี่ย 3 ปุ่ม ดังนั้นเส้นด้ายที่ได้จากจักรยานปั่นด้ายด้วยพลังถีบจึงมีคุณภาพดีกว่าเครื่องปั่นด้ายพื้นบ้านอย่างมีนัยสำคัญ