โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำหนังเทียมจากผักตบชวา
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำหนังเทียมจากผักตบชวา เป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาวิธีการทำหนังเทียมจากผักตบชวาซึ่งมีจำนวนมากในแม่น้ำลำคลอง กลายเป็นปัญหาหนึ่งของระบบนิเวศในท้องถิ่น เพื่อศึกษาสารเคมีที่เหมาะสมในการย่อยสลายของผักตบชวาและเพื่อนำหนังเทียมที่นำมาจากผักตบชวามาใช้ประโยชน์ในการผลิตหนังตะลุงแทนหนังแท้จากหนังสัตว์ที่กำลังขาดแคลน จากการศึกษาพบว่าสารเคมีที่เหมาะสมในการย่อยผักตบชวาคือ โซเดียมไดออกไซด์ เมื่อนำผักตบชวา น้ำ และโซเดียมไดออกไซด์มาผสมกันแล้วนำส่วนผสมที่ได้มากรองเอาน้ำออกแล้วไปผสมกับน้ำแป้งเปียกในอัตราส่วน 1:2 หลังจากนั้นนำส่วนผสมที่ได้มาแผ่ลงบนต้นแบบแล้วนำไปผึ่งแดด เมื่อได้เยื่อกระดาษแล้วนำไปทำเป็นรูปตัวหนังตะลุงและทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ และเมื่อนำหนังเทียมที่ทำได้ไปเปรียบเทียบกับหนังแท้ ปรากฏว่ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วราภรณ์ พาหุรัตน์
สุวัฒนา เมืองจันทร์
อภิษฎา กองทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทชีวภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผักตบชวา
หนังเทียมพืช
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์