โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาปัจจัยเร่งการละลายโฟมด้วยเปลือกส้ม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฐปภัสร์ โรจน์รุ่งศศิธร

  • ปริญญ์ สีล่า

  • ปิยฉัตร ธรรมธุระ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทชีวภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ส้มเปลือก

  • โฟมการละลาย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

พืชตระกูลส้มเป็นผลไม้ที่หาได้ง่ายในประเทศไทย บริเวณเปลือกส้มมีองค์ประกอบหลักคือ สารไลโมนีน (d-limonene) มีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับโครงสร้างโมเลกุลของโฟมพอลิสไตรีนหรือโฟม PS (Polystyrene Foam) เมื่อนำเปลือกส้มมาปั่นผสมน้ำและใส่โฟม PS ลงไปจึงทำให้โฟม PS มีโมเลกุลที่สั้นลงและละลายในสารไลโมนีนได้ และจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติเชิงกลของโฟมประเภท PS ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ชนิดหนึ่ง ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา และแรงกระทำ คณะเราจึงได้ศึกษาปัจจัยทั้ง 3 อย่างว่ามีผลต่อการเร่งการละลายโฟมด้วยเปลือกส้ม โดยทำการทดลองดังนี้ ขั้นตอนที่ ศึกษาชนิดของพืชตระกูลส้มที่ละลายโฟมได้ดี ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบเปลือกส้มแบบแกะกากและไม่แกะกาก ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาปัจจัยในการเร่งการละลายโฟมด้วยเปลือกส้ม ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาถึงผลขนาดของโฟม ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาจำนวนโฟมสูงสุดขนาก 2x2 ซ.ม. ที่สามารถละลายในเปลือกส้มปั่นอัตราส่วน เปลือกส้มต่อน้ำ 1:2 น้ำหนักรวม 300 กรัม และใช้วิธีเร่งการละลายโดยการเขย่าพร้อมกับให้ความร้อน หลังจากการศึกษาถึงปัจจัยเร่งการละลายของโฟมแล้ว ได้นำผลผลิตจากการละลายมาทำการผลิตกระถางโดยทำการทดลองในตอนที่ 6 เปรียบเทียบกับกระถางที่ทำจากขุยมะพร้าว