โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกกไทยก้าวไกลกว่าที่คิด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชาวดี ขจัดภัย

  • ละเอียด เมณฑ์กูล

  • สุรี บุญเกลี้ยง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประดัด ทองหงำ

  • รัศมี ภู่ทอง

  • เผดิม รัตถา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนคณฑีพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์งานด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงได้ศึกษาการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกก โดยแบ่งการทดลองเป็น 5 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาการขยายพันธุ์ของต้นกกโดยใช้ ส่วนยอด ลำต้น และโคนต้น นำไปแช่น้ำ เป็นเวลา 15 วัน พบว่า เกิดรากเฉพาะจากส่วนยอดเท่านั้น ตอนที่ 2 เปรียบเทียบการงอกโดยใช้ยอดของต้นกก ระยะต่างๆ คือยอดอ่อน ยอดอ่อนระยะมีดอก และยอดอ่อนระยะดอกแก่ แช่น้ำเป็นเวลา 15 วัน วัดความยาวของราก พบว่า ยอดอ่อนระยะดอกแก่มีความยาวของรากมากที่สุด ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกกที่ขยายพันธุ์ โดยนำยอดอ่อน ยอดระยะมีดอก และยอดระยะดอกแก่ ไปปลูกลงในแปลง พบว่าขยายพันธุ์โดยใช้ยอดอ่อนให้ความสูงเฉลี่ยมากที่สุด คือ128.37 เซนติเมตร ตอนที่ 4 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกกที่ขยายพันธุ์โดยใช้ยอดอ่อน และหน่อ ไปปลูก พบว่าขยายพันธุ์โดยใช้ยอดอ่อนให้ความสูงเฉลี่ยมากกว่าใช้หน่อ คือ 156.02 เซนติเมตร ตอนที่ 5 เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นกกที่ขยายพันธุ์โดยใช้ยอดอ่อนและหน่อ พบว่าขยายพันธุ์โดยใช้ยอดอ่อนจะใช้ระยะเวลาเพียง 12 สัปดาห์ ได้ต้นกกขนาดใหญ่ ต้นกกมีความยาวทอเป็นเสื่อได้ผืนใหญ่ จำหน่ายได้ในราคาสูง ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อย