โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการฟักไข่ร้าว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤษพงษ์ สุธาศีลพรมแพร

  • ทัศนชาติ จิตตรีธาตุ

  • ธิติ ดุ้งบรรพต

  • สิทธาวัฒน์ ตั้งศรีวงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุพรรณา รอดเริญ

  • สุรีย์ จันทร์เปีย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนครสวรรค์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ภาคเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4 (9) p74

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ฟักไข่ ไข่ร้าว

  • โครงงานวิทยาศาสตร์

  • ไข่ การฟักไข่

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานการฟักไข่ร้าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาตำแหน่งรอยร้าวของเปลือกไข่ที่มีโอกาสฟักออกในอัตราสูง ประเภทของกาวที่เหมาะสมสำหรับใช้ปิดผนึกรอยร้าวของเปลือกไข่ และการเปรียบเทียบน้ำหนักของลูกไก่ที่ฟักจากไข่สมบูรณ์กับไข่ร้าว ทำการทดลองฟักไข่สมบูรณ์และไข่ร้าวด้วยตู้ฟักแบบไฟฟ้า โดยทำการทดลอง 3 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาอัตราการฟักออกระหว่างไข่สมบูรณ์กับไข่ร้าวและตำแหน่งของรอยร้าวของเปลือกไข่ที่มีการฟักออกสูง เพื่อนำไข่ที่มีรอยร้าวของเปลือกในตำแหน่งที่มีการฟักออกสูงไปใช้ในการทดลองตอนที่ 2 โดยนำไข่จากพ่อไก่และแม่ไก่พันธุ์โคชินอายุ 8 เดือน ซึ่งแต่ละฟองมีน้ำหนักระหว่าง 45-65 กรัม จำนวน 40 ฟองแบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ฟอง กลุ่มที่ 1 เป็นไข่สมบูรณ์ กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 เคาะให้มีรอยร้าวที่เปลือกด้านแหลม ด้านข้าง และด้านป้านตามลำดับ ใช้กาวลาเทกซ์ปิดผนึกรอยร้าวที่เปลือกไข่ทุกฟอง นำไข่ทั้ง 4 กลุ่มไปฟักในตู้ฟักไฟฟ้า จนครบ 21 วันนับจำนวนไข่ที่ฟักออกของแต่ละกลุ่มพบว่าไข่ทีมีรอยร้าวที่เปลือกด้านข้างมีอัตราการฟักออกสูงสุด ตอนที่ 2 ศึกษาประเภทของกาวที่เหมาะสมสำหรับใช้ปิผนึกรอยร้าวที่เปลือกไข่ โดยนำไข่ที่มีรอยร้าวที่เปลือกด้านข้างมา 40 ฟอง แบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ฟอง ปิดผนึกรอยร้าวของเปลือกไข่ด้วยกาวลาเทกซ์ กาวหลอด กาวแท่ง และกาวน้ำตามลำดับ นำไปฟักในตู้ฟักไฟฟ้าจนครบ 21 วัน นับจำนวนไข่ที่ฟักออกของแต่ละกลุ่มพบว่ากาวลาเทกซ์ให้อัตราการฟักออกสูงสุด ตอนที่ 3 ศึกษาเปรียบเทียบน้ำหนักเฉลี่ยของลูกไก่ที่ฟักออกระหว่างจากไข่สมบูรณ์กับไข่ร้าว โดยนำไข่สมบูรณ์ และไข่ร้าวที่มีรอยที่เปลือกด้านข้างซึ่งปิดผนึกรอยร้าวด้วยกาวลาเทกซ์มาอย่างละ 10 ฟองฟักในกู้ฟักไฟฟ้าจนครบ 21 วัน นำไก่ที่ได้จากการฟักออกแต่ละกลุ่ม พบว่าลูกไก่มีน้ำหนักเฉลี่ยใกล้เคียงกัน คือลูกไก่ที่ฟักจากไข่สมบูรณ์มีน้ำหนักเฉลี่ย 33.45 กรัม ลูกไก่ที่ฟักจากไข่ร้าวมีน้ำหนักเฉลี่ย 31.48 กรัม