โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการลดปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้พืชสมุนไพร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนัฒพร รัศมีทธิ์
ธนิษฐา รุ่งรังษี
สมรัฐ เชตนุช
เมธี กลิ่นอุบล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มหินท์ แต่งสกุล
วสันต์ ภูวสรรเพ็ชญ์
สุวิทย์ ศิลปสุวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ทั่วไป ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(10) p70
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
พืชสมุนไพร กำจัดเพลี้ยกระโดด
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ลดปริมาณด้วยพืชสมุนไพร
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ที่มาของการทำโครงงานนี้มาจากการทดลองเรื่อง "การกำจัดยุงโดยใช้พืชสมุนไพร" การทดลองใช้พืชสมุนไพรคือ สะเดา ข่า ตะไคร้ กะเพรา พบว่าการใช้สะเดาสามารถทำลายลูกน้ำของยุงได้ผลดีที่สุด เมื่อศึกษาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลซึ่งช่วงระยะการเจริญเติบโตมีการลอกคราบคล้ายกับยุง พบว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกำลังระบาดในนาข้าวแถบภาคกลาง ทำความเสียหายให้เกษตรกรข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยทั้งประเทศ ลดปริมาณการผลิตลดลง โครงงานนี้จึงได้ศึกษาวงจรการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อประโยชน์ในแง่การป้องกันกำจัด โดยใช้พืชสมุนไพร และศึกษาผลการใช้พืชสมุนไพร พวกสะเดา, สะเดา+ข่า, สะเดา+ตะไคร้, สะเดา+กะเพรา, สะเดา+ข่า+ตะไคร้+กะเพรา, ข่า+ตะไคร้+กะเพรา การใช้พืชสมุนไพรสูตรต่าง ๆ ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสม พบว่าความเข้มข้นของสมุนไพรสูตร สะเดา+ข่า+ตะไคร้+กะเพรา ที่เหมาะสมที่สุด คือ 100 กรัมต่อน้ำ 2 ลิตร ทำการทดลองทั้งในนาข้าวทดลองและในห้องทดลอง ซึ่งความเข้มข้นไม่ทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม