โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กรกฎ แสงภู่

  • ทวีศิลป์ คงประเสริฐ

  • ศานิต ศิริมาก

  • ศิริพงษ์ ริมสมุทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นายชูชาติ ปัญจเวทีกุล

  • ภาลัย สิริสี

  • วรรณศิริ วรสิทธิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนระยองวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ภาคตะวันออก

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4 (9) p83

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • มะม่วงหิมพานต์ สกัดน้ำมันจากเปลือกเมล็ด

  • วิธีสกัดน้ำมัน จากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

  • โครงงานวิทยาศาสตร์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับกรรมวิธีการสกัดน้ำมันจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยตอนที่ 1 นำเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มาบีบอัดด้วยเครื่อง พบว่าสามารถสกัดน้ำมันออกจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้ปริมาณ 10 กรัม ต่อ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตอนที่ 2 ศึกษาการสกัดโดยการให้ความร้อนโดยตรงได้ปริมาณน้ำมันปนออกมากับน้ำ เมื่อแยกน้ำออกพบว่าสัดส่วนน้ำหนักของเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ต่อปริมาตรน้ำมันเป็น 20 กรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตอนที่ 3ใช้ตัวทำละลายซึ่งมี น้ำ เฮกเซน และอะซิโตน พบว่าน้ำไม่สามารถสกัดน้ำมันออกจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้ แต่เฮกเซนและอะซิโตนสามารถสกัดน้ำมันออกจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้โดยนำเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ผ่ากึ่งกลางเมล็ดมาแช่ในสารละลายเฮกเซนและอซีโตนนาน 10 นาที พบว่าได้อัตราส่วนของปริมาณเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ต่อปริมาตรน้ำมันที่ได้เฉลี่ยเป็น 10 กรัมต่อ 0.68 ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 10 กรัมต่อ 0.83 ลูกบาศก์เซนติเมตรตามลำดับ ตอนที่ 4 เมื่อนำเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มาตัดให้มีขนาดเล็กลง พบว่าสามารถสกัดน้ำมันได้เฉลี่ยสูงขึ้นกว่าเดิม 15% ตอนที่ 5 เป็นการศึกษาคุณสมบัติความเป็นกรด-เบสของน้ำมัน น้ำมันที่สกัดได้จากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีคุณสมบัติเป็นกรด และกรดในน้ำมันนี้สามารถละลายได้ในน้ำเล็กน้อย ตอนที่ 6 เป็นการนำน้ำมันที่สกัดได้มาเคลือบผิวไม้เพื่อป้องกันปลวกโดยเปรียบเทียบกับไม้ที่ไม่ได้ทาน้ำมัน พบว่า ปลวกกัดกินเนื้อไม้ที่ทาน้ำมันเล็กน้อย และเมื่อทิ้งไว้ปลวกจะตาย ส่วนไม้ที่ไม่ทาน้ำมันปลวกจะกัดกินมากกว่า นอกจากนี้เนื้อไม้ที่ทาน้ำมันจะแห้งเร็วภายในเวลา 1 วัน เมื่อนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสส่วนที่ไม่ได้อบจะแห้งช้า ใช้เวลาประมาณ 3 วัน ตอนที่ 7เป็นการศึกษาพลังงานจากน้ำมันจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เทียบน้ำมันชนิดอื่นๆ พบว่าน้ำมันที่สกัดได้โดยวิธีการให้ความร้อนโดยตรงจะให้พลังงานสูงสุด สูงกว่าแอลกอฮอล์น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันที่สกัดได้โดยวิธีอื่นๆ