โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุลดความชื้นภูมิปัญญาชาวบ้าน

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง"วัสดุความชื้นภูมิปัญญาชาวบ้าน" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการทำวัสดุฉาบฝาผนังที่ประกอบด้วยดินจอมปลวก มูลควาย และแกลบ โดยศึกษาด้านความเหนียว การเกาะติดฝาผนังและอุณหภูมิภายในกล่องทดลองต่างชนิดกันคือ กล่องไม้อัด กล่องไม้ไผ่และกล่องกระเบื้อง นอกจากนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิแต่ละความชื้นสัมพัทธ์ภายในยุ้งข้าวจำลองที่ฉาบฝาผนังด้วยวัสดุสูตรภูมิปัญญาชาวบ้านและสูตรที่มีส่วนผสมของจากการทดลอง และค่าความชื้นของเมล็ดข้าวเปลือกที่บรรจุในยุ้งข้าวจำลองแต่ละชนิด ได้ทำการทดลองเบื้องต้นโดยทำการเปรียบเทียบหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในด้านความเหนียวและการเกาะติดฝาผนังในกล่องทดลองแต่ละชนิด พบว่าส่วนผสมที่มีอัตราส่วนของดินจอมปลวก : มูลควาย : แกลบ = 2: 20:0.5(หรือ 4 : 4 : 1)และกล่องทดลองที่มีฝาผนังสานด้วยไม้ไผ่มีคุณลักษณะดีที่สุดกล่าวคือส่วนผสมที่มีอัตราส่วนของดินจอมปลวก : มูลควาย : แกลบ =2 : 2 :0.5 (หรือ 4 : 4 :1 )ซึ่งได้จาการทดลองเบื้องต้น และ 5 : 1 : 1 ซึ่งเป็นสูตรจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้สอบถาม พบว่า อุณหภูมิภายในยุ้งจำลองเปล่าที่ฉาบด้วยวัสดุทั้ง 2 สุตรมีค่าใกล้เคียงกับอุณภูมิภายนอกซึ่งเป็นชุดควบคุม และมีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าชุดควบคุม และในกรณีที่บรรจุข้าวเปลือกพบว่าได้ผลในลักษณะเดียวกัน จากการวัดค่าความชื้นและน้ำหนักของเมล็ดข้าวเปลือกที่บรรจุในยุ้งพบว่า เมล็ดข้าวเปลือกในยุ้งที่ฉาบผนังด้วยวัสดุทั้ง 2 สูตรมีค่าลดลงและต่ำกว่าเมล็ดข้าวในชุดควบคุม แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วัสดุฉาบฝาผนังทั้ง 2 สูตรมีคุณสมบัติที่ดี คือ สามารถช่วยปรับอุณหภูมิภายในยุ้งข้าว ทำให้เมล็ดข้าวมีความชื้นที่เหมาะสม และป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พิชญาภรณ์ รวยสูงเนิน

  • ยุทธศักดิ์ อาจหาญ

  • ศิวกร บุญธรรม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นาวิน รัตนกรกาญจน์

  • บุญชิด กระจายกลาง

  • อรวรรณ รัมพณีนิล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสิรินธร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ข้าว ความชื้น

  • ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์