โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาพฤติกรรมในการซ่อมรังเพื่อใช้ควบคุมการสร้างพรอพอลิสของชันโรง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นนวัฒน์ หลวงหาญ

  • นัฐกาญจน์ พรหมมินทร์

  • เมธาวี หลี่จา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย เหรียญทอง ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ผึ้งชันโรง การเจริญเติบโต

  • พรอพอลิส

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

พรอพอลิสเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผึ้งชันโรงสร้างขึ้นเพื่อใช้ป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมภายในรัง จากการสังเกตพบว่าเมื่อเกิดรอยฉีกขาดของแผ่นพลาสติกรองฝาปิดรังเพาะเลี้ยง ชันโรงจะมีการซ่อมรัง โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซ่อมรัง เพื่อใช้ควบคุมการสร้างพรอพอลิสของชันโรง โดยแบ่งเป็น 4 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมในการซ่อมรังของชันโรง โดยตัดแผ่นพลาสติกรองฝาปิดรังเพาะเลี้ยงบริเวณกลางแผ่น รูปต่าง ๆ ได้แก่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม ขนาด 0.5 ตารางเซนติเมตร นำไปใส่ในรังเพาะเลี้ยงนาน 7 วัน พบว่าผึ้งงานได้ทำการซ่อมรัง โดยมีการนำพรอพอลิสมาปิดส่วนขอบก่อนแล้วจึงสร้างเวียนรอบจนครบเต็มรอยพลาสติก ใช้เวลา 5 วัน ทั้งนี้รอยตัดรูปวงกลมทำให้มีการสร้างพรอพอลิสมากที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของตำแหน่งรอยตัดแผ่นพลาสติกรองฝาปิดรังเพาะเลี้ยงต่อพฤติกรรมการซ่อมรัง โดยทำรอยตัดรูปวงกลมที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของรัง ได้แก่ ปากทางเข้า กลางกล่อง ใกล้ถ้วยตัวอ่อน ใกล้ถ้วยเกสรและใกล้ถ้วยน้ำผึ้ง พบว่าชันโรงมีการสร้างพรอพอลิสปิดที่ตำแหน่งใกล้ถ้วยตัวอ่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงปิดรอยที่ใกล้ถ้วยเกสร ใกล้ถ้วยผึ้ง กลางกล่องและทางเข้า ตามลำดับ การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของจำนวนรอยตัดต่อพฤติกรรมในการซ่อมรัง โดยตัดรอยจำนวน 20 รอย ชันโรงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและพยายามออกจากรัง โดยไม่พบการซ่อมรังและเมื่อครบ 1 เดือน พบว่ารังมีขนาดเล็กลงและนางพญาได้หายไป ในขณะที่ชุดการทดลองอื่น ๆ ยังคงมีการซ่อมรังไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้การทำรอยตัด 15 รอยจึงมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากได้ปริมาณพรอพอลิสมากที่สุด การทดลองที่ 4 การพัฒนาแผ่นกระตุ้นการสร้างพรอพอลิสของชันโรง โดยสร้างแผ่นกระตุ้นการสร้างพรอพอลิส จากข้อมูลที่ได้จากการทดลองที่ 1, 2 และ 3 พบว่าพรอพอลิสที่ได้จากแผ่นกระตุ้นการสร้างที่พัฒนาขึ้นมีกลิ่น จุดหลอมเหลวและค่า pH ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อรา Rhizopus sp. สูงกว่าชุดควบคุม 13.5% และเก็บได้น้ำหนักมากถึง 12.1 เท่า ทั้งนี้การกระตุ้นการซ่อมรังไม่มีผลทำให้น้ำหนักถ้วยตัวอ่อน ถ้วยน้ำผึ้ง และถ้วยเกสรแตกต่างจากชุดควบคุม