โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านจากเปลือกมังคุดดูดซับโลหะหนักและบำบัดน้ำเสีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นุภาวัน แสนหัวห้าว
วลัยลักษณ์ ปิยะวงศ์
อรวิน ชุมภูจันทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทกายภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ถ่าน
น้ำเสียบำบัด
มังคุดเปลือก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากซึ่งใช้น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตและปล่อยน้ำลงสู่แหล่งน้ำทิ้งทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียและเสียดุลยภาพทางระบบนิเวศประกอบกับประชากรก็เพิ่มขั้นเช่นกัน ส่งผลให้เกิดน้ำเสียจากครัวเรือนซึ่งมีผลต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาค้นคว้าถ่านมีคุณภาพในการดูดซับโลหะหนักและบำบัดน้ำเสีย จึงเกิดแนวคิดทำโครงงานวิทยาศาสตร์นำถ่านเปลือกมังคุดมาบำบัดน้ำเสีย จึงทำการทดลอง 4 ขั้นตอน ตอนที่ 1 ศึกษาระยะเวลาในการเผาเปลือกมังคุดให้ดุถ่านจากเปลือกมังคุด พบว่าการเผาเปลือกมังคุดที่เวลา 60 นาที ให้คุณสมบัติของถ่านได้เหมาะสมที่สุด ตอนที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนระหว่างมวลถ่านจากเปลือกมังคุด:กาวจากแป้งมัน:น้ำ ตอนที่ 3 ศึกษาการดูดซับโลหะหนักของถ่านเปลือกมังคุดอัดแท่ง ตอนที่ 4 ศึกษาการบำบัดน้ำเสียด้วยถ่านเปลือกมังคุดอัดแท่ง จากการทดลองทั้ง 4 ตอน แสดงว่าถ่านจากเปลือกมังคุดมีลักษณะเป็นรูพรุนมีคุณสมบัติในการดูดซับโลหะหนัก ดูดซับสีและกลิ่น ปรับค่า PH ในน้ำให้เป็นกลาง ช่วยในการตกตะกอนและเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำซึ่งสามารถนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้