โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาปริมาณเอนไซม์โบรมิเลนในตำแหน่งต่าง ๆ ของสับปะรด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กาญจนา กล้าหาญ

  • ลลิตา รังคะวิภา

  • เพ็ญผกา ปทุมานนท์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดาราวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p71

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สับปะรด

  • เอนไซม์

  • โบรมิเลน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดับที่ คง ป246/2539 โบรมิเลนเป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนได้เหมือนปาเปนซึ่งพบในยางมะละกอ เมื่อนำมาหมักเนื้อทำให้เนื้อเปื่อยและนุ่ม ผู้ทำโครงงานจึงคิดที่จะศึกษาเปรียบเทียบปริมาณเอนไซม์โบรมิเลนในส่วนต่าง ๆ ของสับปะรด จากการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบปริมาณเอนไซม์โบรมิเลนในส่วนเนื้อ แกน เปลือก และเหง้าของสับปะรดพันธุ์ลำปาง ศรีราชา และนางแล ด้วยการนำน้ำคั้นสับปะรดตำแหน่งดังกล่าวมาปรับค่า pH ให้เท่ากันด้วยสารละลาย buffer sodium acetate 0.5 M pH 5.5 แล้วเจือจาง 2 เท่า นำมาทดสอบการทำงานของเอนไซม์โบรมิเลนที่ทำให้นมแข็งตัวเป็นก้อน โดยเอนไซม์โบรมิเลนย่อยสลายพันธะเปปไตด์ในนม โดยใช้นมสด 5 ml น้ำคั้นสับปะรด 1 ml ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเอนไซม์โบรมิเลนของเนื้อส่วนที่ 1,2 และ 3 แกน เปลือก และเหง้าของสับปะรดแต่ละพันธุ์มีปริมาณแตกต่างกัน และแตกต่างกันระหว่างพันธุ์ทั้ง 3 พันธุ์ แต่มีปริมาณใกล้เคียงกัน ในตำแหน่งเดียวกันของสับปะรดทั้ง 3 พันธุ์ โดยแกนสับปะรดเป็นส่วนที่มีปริมาณเอนไซม์โบรมิเลนน้อยที่สุด ส่วนเหง้า(พันธุ์ลำปาง และศรีราชา) เปลือกและเนื้อส่วนที่ 1 มีปริมาณค่อนข้างมากโดยเฉพาะในเหง้ามีปริมาณมากที่สุด ซึ่งทำให้เวลาที่ใช้ในการแข็งตัวของนมสั้นที่สุด ทั้งนี้เพราะอัตราเร็วของปฏิกิริยาแข็งตัวของนมแปรผันโดยตรงกับปริมาณของเอนไซม์โบรมิเลน