โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องระบบกำจัดแมลงกลางคืนอัตโนมัติแบบ ARC Discharge

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศรชัย ธรรมชีวัน

  • สุทัศน์ ศรีมุข

  • อนิรุต กฤษณกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พัลลภ กลิ่นประยูร

  • พิษณุ ป้อมเสมา

  • มนชัย พงษ์หิรัญ

  • รัชดา ผลมานะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนล่าง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(25) p80

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สิ่งประดิษฐ์

  • แมลงกลางคืน การกำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดแมลงกลางคืนโดยการใช้ไฟฟ้า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีซึ่งจะทำให้สารตกค้างอยู่ในดิน ในน้ำ การใช้ไฟล่อแมลงให้บินผ่านเส้นลวดสนามไฟฟ้าแรงสูงและเกิดการ ARC Discharge ผ่านความชื้นในตัวของแมลงจนร่างกายฉีกขาดโดยแบ่งการทดลองเป็น 4 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 แบ่งเป็น 3 ตอนย่อย ตอนที่ 1.1 ศึกษาพฤติกรรมแมลงต่อแสงสีต่างๆ 6 สี คือ แสงสีแดง แสงแบลคไลท์ แสงสีเหลือง แสงสี ฟ้า แสงสีเขียว แสงอาทิตย์ พบว่าแมลงชอบแสงแบลคไลท์ แสงสีฟ้า แสงอาทิตย์มากที่สุด น้อยที่สุดคือ แสงสีแดง ตอนที่ 1.2 ศึกษาการเคลื่อนย้ายของแมลงเมื่อเปิดไฟสลับกันทีละสี พบว่าเคลื่อนย้ายไปมา ตอนที่ 1.3 ชนิดของแมลงที่ชอบแสงแบลคไลท์ แสงสีฟ้า แสง อาทิตย์ พบว่าแมลงที่ชอบแสงแบลคไลท์ คือ แมงกะชอน แมงอีเหนี่ยง เพลี้ย แมลงปอ จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงที่ชอบแสงสีฟ้า คือ ผีเสื้อกลางคืน เพลี้ย ด้วงปีกแข็ง แมลงปอ จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงที่ชอบแสงอาทิตย์ คือ ผีเสื้อกลางคืน เพลี้ย ด้วงปีกแข็ง แมลงเต่า ตอนที่2 หาเวลาเปิด-ปิดไฟล่อแมลงสลับกับการเปิดเครื่อง ARC Discharge ที่ได้แมลงมากที่สุดพบว่าเปิดไฟล่อแมลง 5 นาที เวลาเปิดเครื่อง ARC Discharge 1-4 นาที เหมาะสมที่สุด ตอนที่ 3 ทดลองใช้หลอดไฟล่อแมลงต่อเครื่อง ARC Discharge แบบ 1:1 จำนวน 3 ชุดและ 3:1 จำนวน 1 ชุด ผลการทดลองปรากฏว่าแบบ 1 : 1 ได้มวลของซากแมลงเฉลี่ย 108.33 กรัม/1 คืน แบบ 3:1 ได้ 99.66/1 กรัม เปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้าต่อมวลของซากแมลง 1 กรัม แบบ 1:1 ใช้พลังงาน 0.026 ยูนิต และ 3:1 ใช้พลังงาน 0.012 ยูนิต ตอนที่ 4 ใช้กลิ่นล่อแมลงวัน ทองแทนหลอดไฟ พบว่าสามารถกำจัดแมลงวันทองได้ จากการทดลองนี้จะทำให้ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดการใช้สารเคมี ปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค