โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาประสิทธิภาพไม้อัดจากเส้นใยผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พรทิพย์ การุณ
พรทิพย์ อัครบุญวานิช
ศศิธร แก่นท้าว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น เหรียญทองแดง ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผักตบชวา การทดลอง
ผักตบชวา เส้นใย
ไม้อัด การผลิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นไม้อัดจากเส้นใยผักตบชวา ซึ่งแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เพื่อศึกษาลักษณะของเส้นใยผักตบชวา ชนิดตัวประสาน และเวลาที่เหมาะสมในการขึ้นรูปทำแผ่นไม้อัด พบว่าแผ่นไม้อัดเส้นใยละเอียดมาก โดยใช้กาวผงเป็นตัวประสาน สามารถขึ้นรูปได้ตามแบบพิมพ์ ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเส้นใยผักตบชวาต่อตัวประสาน และอุณหภูมิในการอบแผ่นได้อัดจากเส้นใยผักตบชวา พบว่า อัตราส่วน 2:2:1 โดยมวล สามารถขึ้นรูปตามแบบพิมพ์ได้ดีที่สุด และใช้ระยะเวลาในการแข็งตัวคือ 40 นาที ตอนที่ 3 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นไม้อัดจากเส้นใยผักตบชวาในด้านต่าง ๆ ด้านที่ 1 การพองตัว พบว่า แผ่นไม้อัดมีปริมาตรของไม้อัดที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ด้านที่ 2 ความอิ่มน้ำ พบว่า มีปริมาตรของแผ่นไม้อัดที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.87 ด้านที่ 3 ความถ่วงจำเพาะ พบว่า แผ่นไม้อัดมีความถ่วงจำเพาะ 1.18 ด้านที่ 4 การตอกตะปู พบว่า ตะปูสามารถตอกทะลุแผ่นโดยไม่เกิดการแตกร้าว ด้านที่ 5 การรับแรงตกกระทบ พบว่า แผ่นทดสอบสามารถรับแรงตกกระทบได้มากกว่า 2311 กรัม ด้านที่ 6 การติดไฟ เกิดการไหม้ที่แผ่นทดสอบแต่ไม่ลุกเป็นเปลวไฟ ไม่มีควันไฟ มีแต่กลิ่นฉุน และด้านที่ 7 การรับ คายความร้อนในเวลา 60 นาที รับความร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 34.33 องศาเซลเซียส และเมื่อคลายความร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 31.66 องศาเซลเซียส อุณหภูมิคงเหลือ 2.66 องศาเซลเซียส