โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษารูปแบบของค้างที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของตำลึง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและรูปแบบของค้างที่มีผลทำให้ตำลึงเจริญเติบโตยืดความยาวของตำลึงเท่านั้น จากการทดลองพบว่า รูปแบบของค้างที่มีประสิทธิภาพในการทำให้ตำลึงเจริญเติบโตได้มากที่สุด คือรูปแบบไม้สี่เหลี่ยมโดนมีความยาวของยอดเฉลี่ย 13.79 cm มีน้ำหนักของยอดตำลึงที่เก็บได้เฉลี่ย 35.46g รองลงมาคือ รูปแบบแผงไม้ , ไม้สามเหลี่ยม , ไม้ทรงโค้ง , ไนลอนสี่เหลี่ยม , แผงไนลอน , ไนลอนสามเหลี่ยม และไนลอนทรงโค้ง ศึกษาขนาดช่องว่างที่เหมาะสมที่มีผลทำให้ตำลึงเจริญเติบโตยืดความยาวของยอดลำต้น พบว่าขนาดช่องว่างของค้างที่เหมาะที่สุดคือ ขนาด 30 เซนติเมตร ทำให้ยอดตำลึงยาวเฉลี่ยวันละ 14.69 มีน้ำหนักของยอดตำลึงที่เก็บได้เฉลี่ย 35.16g รองลงมาคือขนาดช่องว่าง 10 เซนติเมตร และ50 เซนติเมตร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นงลักษณ์ กิติกุล

  • นโรปกรณ์ จันทร์คำ

  • วรัญญา จันทร์คำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ค้าง รูปแบบ

  • ตำลึง เจริญเติบโต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์