โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสีย้อมผ้าจากต้นตะบูน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสีย้อมผ้าจากต้นตะบูนโดยวัสดุที่ใช้ในการทดลองคือ ส่วนต่างๆของต้นตะบูน ได้แก่ เปลือกแห้ง เนื้อไม้แห้ง เปลือกผลแห้ง เมล็ดแห้ง และผ้าชนิดต่างๆเพื่อทดสอบการติดสีคือ ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน โดยมีวิธีการทดลองคือ สกัดสีจากส่วนต่างๆ ของต้นตะบูนโดยนำส่วนต่างๆ ของต้นตะบูนที่เตรียมมาใส่ในบีกเกอร์ บีกเกอร์ละ 50 กรัม ใส่น้ำ 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วนำไปต้มเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นแยกสารที่ได้แต่ละชุดนำไปสกัด แล้วทดลองใส่ผ้าฝ้ายลงไป แช่ไว้ 30 นาที แล้วนำผ้าไปซักและตากแห้ง และมีการทดสอบการจับติดในเส้นใยต่างชนิดกัน โดยใช้ ผ้าฝ้าย ผ้าโทเร ผ้าลินิน และสวิง โดยนำสีที่สกัดจากเปลือกและเนื้อไม้ของต้นตะบูน มาต้มนาน 30 นาที และแช่ทิ้งไว้ 30 นาที นำไปตากแห้ง ผลการทดลองพบว่า สีที่ได้จากการสกัดจาก เปลือก เนื้อไม้ เปลือกผล และเมล็ด พบว่าสกัดสีได้สีน้ำตาลแดงเข้ม น้ำตาลแดง น้ำตาลแดงอ่อน น้ำตาลแดงอ่อนออกเหลืองๆ ตามลำดับ เมื่อนำไปย้อมผ้าพบว่า สีที่สกัดจากเปลือกต้น และเนื้อไม้ สีจับติดสม่ำเสมอย้อมผ้าได้ดีที่สุด และเมื่อศึกษาชนิดเส้นใยที่จับติดในผ้าพบว่าสีจากเปลือกต้นและเนื้อไม้สามารถนำมาย้อมผ้าฝ้ายและผ้าใยสังเคราะห์ได้ดีและได้สีสันที่สวยงาม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บุปผา ศรีสัมฤทธิ์
วรารัตน์ สายชม
วิทยา จูสุวรรณ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สมนึก เวศวงศ์ษาทิพย์
อุไรวรรณ หมอกสีปาน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การสกัดสี
สีย้อมผ้า
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์