โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องฟืนประยุกต์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประภัสสร งามวัฒนากุล

  • วิชุดา วิวัฒนเจริญ

  • สุพรรณิการ์ ไพศาลศุภชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพระหฤทัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p66

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ฟืน

  • วัสดุเหลือใช้ ประโยชน์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดับที่ คง ต268/2539 เชื้อเพลิงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และยังเป็นที่ตัองการอย่างมาก ในการหุงต้มอาหาร การผลิตกระแสไฟฟ้า การอุตสาหกรรมต่าง ๆ โครงงานนี้จึงได้ทดลองนำเอาเศษวัสดุต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากยิ่งขึ้น นับเป็นการลดปัญหาการตัดไม้เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงและลดปริมาณขยะด้วย ผู้ทำโครงงานได้ศึกษาหาอัตราส่วนของเศษวัสดุต่อน้ำแป้งสุกที่เหมาะสมกับเศษวัสดุแต่ละชนิด และศึกษาเศษวัสดุที่นำมาทำการทดลองว่าชนิดใดเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพดีที่สุด โดยนำวัสดุ 6 ชนิด คือ ชานอ้อย กากมะพร้าว (ที่คั้นกะทิออกขายแล้ว) ขุยมะพร้าว กากชา ขี้เลื่อย กระดาษหนังสือพิมพ์ มาศึกษาอัตราส่วนของเศษวัสดุต่อน้ำแป้งสุกคือ 3:1, 3:2, 4:1, 4:5, 5:1, 5:2 ที่เหมาะสมที่สุดกับเศษวัสดุแต่ละชนิด จากนั้นจึงนำเศษวัสดุแต่ละชนิดมาคลุกเคล้ากับน้ำแป้งสุกซึ่งพบว่าเหมาะสมที่สุดแล้วกับการนำไปอัดแท่งแต่ละชนิดในปริมาณ 40 กรัม มาต้มน้ำในปริมาณ 60 ซีซี วัดอุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนไปแล้วใช้สูตร Q=msat คำนวณหาปริมาณความร้อนที่ได้รับจากฟืนแต่ละชนิด จากการทดลอง พบว่าเศษวัสดุแต่ละชนิดมีอัตราส่วนเศษวัสดุ : น้ำแป้งสุกที่เหมาะสมที่สุดต่างกัน คือ ชานอ้อย = 3:1 กากมะพร้าว = 3:1 ขุยมะพร้าว = 5:1 กากชา = 3:1 ขี้เลื่อย = 5:2 กระดาษหนังสือพิมพ์ = 5:1 ฟืนที่เหมาะสำหรับใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงมากที่สุด คือ ฟืนจากกากมะพร้าวและขี้เลื่อยเนื่องจากติดไฟง่าย ให้พลังงานความร้อนสูง เมื่อเปรียบเทียบกับฟืนที่ใช้กันทั่วไปในปริมาณที่เท่ากัน