โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการใช้สารสกัดจากใบสาบเสือควบคุมเชื้อจุลินทรีย์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชมภูนุช จันทร์ยิ้ม

  • นัทธิกา นันทจิต

  • อังคณา พรหมมา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพระหฤทัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p64

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เชื้อจุลินทรีย์

  • ใบสาบเสือ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดับที่ คง ต266/2539 การสกัดสารที่มีอยู่ในใบสาบเสือ เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ให้เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้สารละลายคือเมทิลแอลกอฮล์เปรียบเทียบกับไดคลอโรมีเทนและน้ำ พบว่าเมทิลแอลกอฮอล์สามารถสกัดสารควบคุมจุลินทรีย์ได้ดี โดยสารสกัดที่ได้สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่เลี้ยงในน้ำนมสดที่ 38 องศาเซลเซียส ได้นาน 33.5 ชั่วโมง ในขณะที่น้ำไม่สามารถสกัดสารดังกล่าวออกมาได้คือ นมจะเสียในเวลา 7 ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับนมปกติที่เสียเมื่อบ่มไว้ 10.5 ชั่วโมง ส่วนไดคลอโรมีเทนแม้จะสกัดสารควบคุมได้ดีกว่า แต่สารสกัดที่ได้ไม่ละลายน้ำ จึงควบคุมจุลินทรีย์ได้เพียง 9 ชั่วโมง ระดับสารสกัดจากใบสาบเสือที่เหมาะสมในการควบคุมจุลินทรีย์คือ 2-4 ซีซี (1.5-3 กรัม) ต่อน้ำนมเลี้ยงเชื้อ 100 ซีซี ซึ่งดีเท่ากับยาปฏิชีวนะสเตปโตรไมซิน 40 มิลลิกรัม โดยน้ำนมที่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ใส่สารสกัดจะระงับจุลินทรีย์ได้สูงสุด 86 ชั่วโมง ในขณะที่สเตปโตรไมซินระงับได้ 24 ชั่วโมง สารสกัดจากใบสาบเสือ สามารถใช้ควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในคนได้หลายชนิดคือเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Staphllococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli การใช้เดกซ์ตรินเคลือบสารสกัดใบสาบเสือ สามารถใช้แก้ไขปัญหาการไม่ละลายน้ำและหลีกเลี่ยงการใช้เมทิลแอลกอฮอล์ทำละลาย ทำให้สามารถผลิตออกมาในรูปของแข็งละลายน้ำได้ง่าย และสะดวกกับการนำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะนำไปใช้ทาแผล และรักษาแผลภายนอกร่างกาย กากใบสาบเสือหลังสกัดมีโปรตีนสูงเท่ากับใบกระถิน และมีคุณค่าทางอาหารที่ดีตลอดจนไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนก่อนสกัด ดังนั้นจึงน่าจะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผสมอาหารสัตว์ ใบสาบเสือจึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง ที่มีแนวโน้มในการนำมาสกัดสารควบคุมจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคชนิดต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะภายนอกร่างกาย และกากหลังสกัดยังมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งอาจใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ได้