โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาการใช้พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านในการช่วยย่อยอาหาร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นัฏพร ขนุนก้อน
อาทิตา ชูหลำ
ใจรัก ทองบุศย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กรรณาภรณ์ โทนทอง
จิระนิตย์ พวงดี
วนิดา วัฒนธรรม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(36) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การย่อยอาหาร
สมุนไพร
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการย่อยสารอาหาร (แป้ง และโปรตีน) ของน้ำผักและน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ และศึกษาเปรียบเทียบการย่อยสารอาหารกับยาเม็ดช่วยย่อย ผักและผลไม้ที่นำมาใช้ในการศึกษาได้แก่ แครอท มะเขือเทศ มะกรูด มะนาว แตงกวา ใบบัวบก ผักกาดขาว ยอกมะระ สับปะรด ส้ม ฝรั่ง แอปเปิ้ล ผลการศึกษาพบว่าน้ำผักประเภทแครอทสามารถย่อยแป้งได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ แตงกวา มะเขือเทศ และผักกาดขาว ส่วนน้ำผลไม้ไม่สามารถย่อยแป้งได้ และเมื่อเปรียบเทียบการย่อยแป้งของแครอทกับยาเม็ดช่วยย่อย พบว่า น้ำแครอทปริมาณ 2 cm3 ย่อยแป้งได้ ขณะที่ยาเม็ดช่วยย่อยไม่ให้ผลการทดสอบ เมื่อศึกษาการย่อยสารอาหารประเภทโปรตีนพบว่า น้ำผักที่สามารถย่อยโปรตีนได้บ้างในเวลา 10 นาที คือ น้ำมะกรูด และน้ำมะนาว ส่วนน้ำผลไม้ที่สามารถย่อยโปรตีนได้ดีที่สุดคือน้ำสับปะรด รองลงมาคือ น้ำส้ม น้ำฝรั่ง และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบการย่อยโปรตีนของน้ำมะกรูด น้ำมะนาว กับยาเม็ดช่วยย่อย พบว่าน้ำมะกรูดและน้ำมะนาวย่อยโปรตีนได้บ้างที่ปริมาณ 1.5 และ 2.0 cm3 ส่วนยาเม็ดช่วยย่อยที่ปริมาณ 0.5 cm3 ขึ้นไปสามารถย่อยโปรตีนได้ดี จากนั้นศึกษาการย่อยสารอาหารประเภทโปรตีน จากส่วนต่าง ๆ ของสับปะรด พบว่า ส่วนเนื้อ แกน หน่อ และเปลือกย่อยโปรตีนได้ดีที่สุด ส่วนเนื้อสับปะรดมีความสามารถในการย่อยได้ดีเท่ากับยาเม็ดช่วยย่อยที่ปริมาณตั้งแต่ 0.5 cm3 ขึ้นไป