โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของถั่วงอกในยุคไอเอ็มเอฟ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การเพาะถั่วงอกโดยทั่วไปได้ผลผลิตต่ำ คือ ถั่วเขียว 1 กิโลกรัม จะได้ผลผลิต 5 กิโลกรัม และไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร โครงงานนี้จึงทำการศึกษาทดลองเพาะถั่วงอกให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง โดยใช้ต้นทุนต่ำ วิธีการทดลองแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาเวลาที่ใช้แช่เมล็ดถั่วเขียวในน้ำ พบว่า ถั่วเขียวที่แช่น้ำ 5 , 6 หรือ 7 ชั่วโมงให้ผลดีเท่ากันในการงอกและถั่วงอกที่ใช้เวลาปลูก 2 วันให้ผลผลิตดีที่สุด ตอนที่ 2 ศึกษาวัสดุอมน้ำที่มีผลต่อการเจริญของถั่วงอกมากที่สุดพบว่า หยวกกล้วยเป็นวัสดุที่ดีที่สุดในการงอก ตอนที่ 3 ศึกษาว่าวัสดุควรอมน้ำปริมาณเท่าไรจึงเหมาะสมต่อการงอกปริมาณสูงสุด ผลการทดลองพบว่าหยวกกล้วยที่ผสมน้ำในปริมาณ 40 cm3 ให้อัตราการงอกดีที่สุด ตอนที่ 4 ศึกษาว่าควรเพาะถั่วงอกได้มากที่สุดจำนวนกี่ชั้น โดยนำหยวกกล้วยไปปั่นผสมทราย พบว่า จัดชั้นเพาะเป็น 4 ชั้นจะให้ผลดีที่สุด ตอนที่ 5 ศึกษาว่าต้องใช้น้ำปริมาณมากน้อยเพียงใดในการทดลอง โดยการวัดจำนวนหยดน้ำจากสายน้ำเกลือในเวลาที่กำหนด ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำ 60 หยด/นาที ให้ผลดีที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ขนิษฐา พวงจิตต์
จิรพล พรหมรุ่งเรือง
ศิริวัฒน์ ทองกำพร้า
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉวีวรรณ สุภาพุฒ
สุนันท์ ศรีโสภา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 11(31) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การเกษตร
ถั่วงอก คุณภาพ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์