โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านเทียม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป018/2540 การจัดทำโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวัสดุเชื้อเพลิงที่เหลือใช้ภายในท้องถิ่นที่สามารถทดแทนเชื้อเพลิงจากไม้ฟืนโดยทำให้อยู่ในรูปของ "ถ่านเทียม" สำหรับวัสดุเชื้อเพลิงที่เหลือใช้ในท้องถิ่นที่นำมาทดลองได้แก่ ผักตบชวา เปลือกทุเรียน เปลือกมังคุด และขี้เลื่อย โดยในขั้นตอนแรกเริ่มจากการหาอัตราส่วนปริมาณที่เหมาะสมระหว่างวัสดุเชื้อเพลิงกับตัวประสานแต่ละชนิดที่ใช้ในการอัดแท่งเชื้อเพลิง แล้วเลือกใช้อัตราส่วนที่ดีที่สุด โดยได้ผลดังนี้คือ ระหว่างเปลือกมังคุดกับแป้งเปียกใช้อัตราส่วน 5:1 และระหว่างขี้เลื่อยกับแป้งเปียกใช้อัตราส่วน 4:1 จากนั้นจึงทำการอัดให้เป็นแท่งเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้หรือนำไปผ่านขบวนการเผาก็จะได้เชื้อเพลิงในรูปของถ่านเทียม และทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด ผลการทดลองพบว่าเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่สามารถติดไฟและให้ความร้อนได้เหมือนเชื้อเพลิงทั่ว ๆ ไป ยกเว้นเชื้อเพลิงที่เป็นวัสดุเชื้อเพลิงโดยตรงจะติดไฟได้ไม่ดี มีควันและกลิ่นมาก ดับง่าย ทำให้ไม่สามารถหาคุณภาพในการให้ความร้อนได้ ส่วนเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ มีคุณภาพการให้ความร้อนและให้ค่าความร้อนได้ดีกว่าหรือใกล้เคียงกับถ่านไม้ทั่วไปจึงน่าจะนำไปใช้ทดแทนเชื้อเพลิงจากถ่านไม้ทั่วไปได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิฑูรย์ คุ้มหอม
สุรทิน ใจดี
เอกสิทธิ์ กลิ่นชูกร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นพรัตน์ ทาตะภิรมย์
รัชนี เลิศเกษม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(24) p74
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ถ่าน
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประโยชน์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์