โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องลดกรดในน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นด้วยขี้เถ้า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิภาภรณ์ เคี้ยวแก้ว

  • ลินดา เปี้ยเขียว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนราสิกขาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 11(32) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ขี้เถ้า

  • น้ำทิ้ง ลดกรด

  • ยางแผ่น การทำ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำทิ้งจากการทำยางพาราแผ่นจะมีความเป็นกรดสูงและทำให้ดินเสื่อม คณะผู้จัดทำโครงงานนี้ได้พยายามศึกษาหาแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำทิ้งดังกล่าว โดยการใช้ขี้เถ้าจากเปลือกกล้วยน้ำว้า เปลือกมะพร้าว เศษใบไม้ร่วง และไม้ อย่างละ 5 กรัมต่อน้ำทิ้ง 100 ml พบว่าขี้เถ้าทั้ง 4 ชนิด สามารถลดความเป็นกรดได้ โดยขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้าให้ผลดีที่สุด และพบว่าถ้าใช้ขี้เถ้าปริมาณมาก ความสามารถในการลดกรดก็จะมากขึ้นด้วย เมื่อศึกษาถึงขั้นการนำไปใช้โดยใช้ขี้เถ้า 7 กรัมใส่ในชุดกรอง กรองน้ำทิ้งจำนวน 2000 ml สามารถปรับค่า pH ของน้ำทิ้งที่เหมาะสมได้ประมาณ 900 ml ถ้าเติมขี้เถ้าจากเปลือกกล้วยน้ำว้า 8 กรัม ลงไปแช่ในน้ำทิ้งจากการทำยางแผ่น 1000 ml จะได้น้ำทิ้งจากการทำยางแผ่นที่มีค่า pH ที่เหมาะสม สามารถลดปัญหาดินเสื่อมและลดกลิ่นเหม็นได้มากด้วย