คำสมาส

คำสมาสเกิดจากคำบาลีหรือคำสันสกฤต 2 คำ ที่นำมาเขียนชนกัน เป็นที่มาของการจำว่า สมาสชนสนธิเชื่อม เมื่อนำคำมาชนกันแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำเดิม และจะกลายเป็นคำใหม่ขึ้นมา

“คำสมาส” มีข้อจำกัดอยู่ว่า จะต้องมาจากภาษา 2 คือ “ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต” เท่านั้น ถ้ามาจากคำอื่นมาสร้างคำ เช่น คำไทย+บาลี หรือคำไทย+สันสกฤต หรือคำในภาษาอื่นๆ+คำภาษาบาลีหรือสันสกฤต จะเป็น คำประสม ทันที ซึ่งไม่นับว่าเป็นคำสมาส

คำสมาสสังเกตได้จากอะไร

คำที่นำมาจะต้องเป็นคำบาลีหรือสันสกฤต

คำบาลี จับคู่กับ คำบาลี

  • อัคคีภัย วาตภัย ขัตติยมานะ โจรภัย อริยสัจ อัจฉริยบุคคล คำสันสกฤต จับคู่กับ คำสันสกฤต แพทยศาสตร์ วีรสตรี วีรบุรุษ ศิลปกรรม สังคมวิทยา ศิลปกรรม

คำบาลี จับคู่กับ สันสกฤต

  • หัตถการ สัจธรรม นาฏศิลป์ สามัญศึกษา

เป็นคำใหม่ที่ไม่ประวิสรรชนีย์พยางค์ท้ายของคำหน้า

  • เช่น ทันตแพทย์ นวัตกรรม วรกาย อุทกภัย ธุรการ กาลเทศะ คณิตศาสตร์ สารคดี อธิการบดี คณบดี

ไม่มีตัวการันต์ ระหว่างคำ 2 คำ ดังนี้

  • ศิลป์ +ศาสตร์ = ศิลปศาสตร์

  • สัตว์ +แพทย์ = แพทยศาสตร์

ต้องอ่านออกเสียงต่อเนื่องระหว่างคำ 2 คำ

  • โดยพยางท้ายของคำแรกจะออกเสียง “อะ” ดังนี้

    • ทันตแพทย์ อ่าน ทัน-ตะ-แพด

    • วรกาย อ่าน วอ-ระ-กาย

    • ธุรการ อ่าน ธุ-ระ-กาน

    • คณิตศาสตร์ อ่าน คะ-นิด-ตะ-สาด

    • ทรพิษ อ่าน ทอ-ระ-พิด

    • รัฐมนตรี อ่าน รัด-ถะ-มน-ตรี

    • ทัณฑฆาต อ่านว่า ทัน-ทะ-คาด

    • พลศึกษา อ่านว่า พะ-ละ-สึก-สา

    • สุนทรพจน์ อ่านว่า สุน-ทอ-ระ-พด

    • รัฐศาสตร์ อ่านว่า รัด-ถะ-สาด

การแปลคำสมาสให้แปลจากคำหลัง (คำหลัก) ไปหาคำหน้า (คำรอง) ดังนี้

  • หัตถกรรม มาจาก หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน) แปลว่า งานฝีมือ

  • ทันตแพทย์ มาจาก ทันต (ฟัน) + แพทย์ (ผู้ทำการรักษา) แปลว่า แพทย์ผู้รักษาโรคฟัน

  • คณิตศาสตร์ มาจาก คณิต(การคำนวณ) + ศาสตร์ (ความรู้) แปลว่า วิชาคณิตศาสตร์

คำสมาสบางคำสามารถแปลจากคำหน้าไปคำหลังได้เหมือนกัน ซึ่งจะมีคำว่า “และ” เชื่อมระหว่างคำสองคำเสมอ ดังนี้

  • ศีลธรรม อ่านว่า สีน-ละ-ทำ หรือ สีน-ทำ มาจาก ศีลและธรรม

  • บุตรภรรยา อ่านว่า บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา มาจาก บุตรและภรรยา

ให้สังเกตคำที่มักลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม การ ภาพ ภัย เป็นต้น ดังนี้

  • คำที่ลงท้ายด้วย (-ศาสตร์) เช่น ศิลปศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์

  • คำที่ลงท้ายด้วย (- กรรม) เช่น จิตรกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม นิรกรรม กายกรรม อุตสาหกรรม กสิกรรม

  • คำที่ลงท้ายด้วย (-การ) เช่น กรรมการ ตุลาการ พาณิชยการ ราชการ

  • คำที่ลงท้ายด้วย (-ภาพ) เช่น ภราดรภาพ เอกภาพ มรณภาพ สุขภาพ

  • คำที่ลงท้ายด้วย (-ภัย) เช่น อุทกภัย อัคคีภัย นิรภัย วาตภัย โจรภัย

  • คำที่ขึ้นต้นด้วย “พระ” ในภาษาบาลี และสันสกฤต จะเป็นคำสมาสทุกคำ เช่น พระบาท พระเนตร พระกรรณ พระโอรส พระธิดา พระวงศ์

คำที่ต้องระวัง! คำที่เป็นราชาศัพท์บางคำที่ขึ้นต้นด้วย “พระ” บางคำที่มีมาจากภาษาต่างประเทศ

เช่น ภาษาเขมร แม้จะขึ้นต้นด้วย “พระ” ก็ตาม บางคำจะไม่เป็นคำสมาส เช่น พระขนง พระสนม พระสำราญ พระศอ

คำบาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยคำ “อุปสรรค” จะเป็นคำสมาส

  • เช่น ทุ นิร นฤ เนร อนุ อว โอ อภิ อธิ เป็นต้น เช่น ทุรชน นิรภัย นิรมิต นิรมาณ นฤมล เนรเทศ อนุญาต อนุทิน อวตาร โอวาท อภิปราย อธิการ อธิบดี วิจิตร วิภาตา

คำสมาสบางคำที่นำมารวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ

  • ตัวอย่างคำดังนี้

    • วัฒนธรรม มาจาก วัฒน+ธรรม

    • สารคดี มาจาก สาร + คดี

    • กาฬปักษ์ มาจาก กาฬ+ปักษ์

    • ทิพยเนตร มาจาก ทิพย +เนตร

    • โลกบาล มาจาก โลก+บาล

    • เสรีภาพ มาจาก เสรี+ภาพ

    • สังฆนายก มาจาก สังฆ+นายก