คำครุ คำลหุ

  • คำครุ อ่านว่า คะ-รุ เป็นภาษาบาลี แปลว่า หนัก ในความหมายนั้นจะหมายถึงการออกเสียงพยางค์ที่มีเสียงหนัก มีสัญลักษณ์ ั

  • คำลหุ อ่านว่า ละ-หุ เป็นภาษาบาลี แปลว่า เบา ในความหมายนั้นจะหมายถึงการออกเสียงพยางค์ที่มีเสียงเบา มีสัญลักษณ์ ุ

ข้อแตกต่างของคำครุ คำลหุ

คำครุ

  • เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา

  • มีเสียงหนัก

  • เป็นคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สระเกิน”

  • มีตัวสะกดเป็นพยางค์ปิดในมาตราทั้ง 8 แม่

  • มีตัวสะกด ม ย ว เป็นตัวสะกดแฝง

  • มีสัญลักษณ์ ั -เป็นคำบังคับที่นำไปแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ตามฉันทลักษณ์

คำลหุ

  • ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา

  • มีเสียงเบา

  • ไม่มีตัวสะกด

  • พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวโดด เช่น ณ บ ธ ก็ บ่ ฤ

  • มีสัญลักษณ์ ุ

  • เป็นคำบังคับที่นำไปแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ตามฉันทลักษณ์

ตัวอย่างคำครุ

ใน นา มี ปู ตา ดำ วัว ลาก ไถ พุทธ สันดาน มูล หมองมัว ยั่ว เอว เจ็บ โสภา ศาลา วัด แม่ ข้าวสาร ดวงใจ ไฉไล เขลา เนื้อ เต้น ทั่ว ร่าง สั่น ไหว ช่อฟ้า หัว อีกา สาม ฤาษี คาวี วับวาบ ญาณ เรา ครอง แผ่นดิน โดย ธรรม พรรณ ช่อฟ้า เย้ยหยัน

ตัวอย่างคำลหุ

มติ กะปิ กะทิ กะทะ ฐิติ อุระ อมตะ พระ มิ ก็ อุระ จะ เกะกะ ทะลุ คช รวิ วจนะ ศศิ เมรุ พิศ และ สุ จิ ปุ ลิ สติ ระยะ เยาะ บ่ ณ ธุระ สติ