คำอุทาน

  • คำอุทาน  คือ  คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้  แต่เน้นความรู้สึกและอารมณ์ในขณะพูด เป็นได้ทั้ง คำ  วลี  หรือประโยค

ชนิดของคำอุทาน

  • คำอุทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด  ดังนี้

1. คำอุทานแสดงอาการ

  • คำอุทานแสดงอาการ  เป็นคำที่เปล่งออกมากตามอารมณ์ของผู้พูด  เช่น  โกรธ , ตกใจ,  ตื่นเต้น, สงสัย ,   เห็นใจ

  • ตัวอย่าง

    • คำอุทาน   แสดงอาการ  โกรธ   ใช้คำว่า   เฮ้ย ! ชิชะ! อุวะ! เหม่!

    • คำอุทาน   แสดงอาการ  ตกใจ ใช้คำว่า  ว๊าย ! ตายจริง! แม่หล่น!   พ่อหล่น! ตาเถรตกกระโถน! โอ๊ย!

    • คำอุทาน   แสดงอาการ  ตื่นเต้น  ใช้คำว่า  โห! โอ้โห! โอ้โฮ!

    • คำอุทาน  แสดงอาการ  เห็นใจ   ใช้คำว่า  โธ่! อนิจจา!  อนิจจัง!

    • คำอุทาน  แสดงอาการ  สงสัย    ใช้คำว่า   เอ๊ะ!

    • คำอุทาน  แสดงอาการ  ไม่พอใจ ใช้คำว่า  อุบ๊ะ!

    • คำอุทาน  แสดงอาการ  สงสาร   ใช้คำว่า  อนิจจา! โถ!

    • คำอุทาน  แสดงอาการ  โล่งใจ    ใช้คำว่า  เฮ้อ!

2. คำอุทานเสริมบท

  • คำอุทานชนิดนี้มักแทรกอยู่ในบทประพันธ์   ใช้เขียนเป็นคำสร้อยคำประพันธ์ประเภทโคลง และร่าย

  • มักมีคำว่า  เอย,  แฮ ,  นา , โอ้ ,  ฮา , เฮย, แล  เป็นต้น   หรือใช้อยู่หน้าคำ  หลังคำ   แทรกอยู่กลางคำ

  • คำอุทานเสริมบทอีกลักษณะหนึ่งคือใช้เน้นความหมายของคำนั้นให้เด่นชัดขึ้น หรือเสริมคำให้ยาวออกไปโดยไม่คำนึงถึงความหมาย  อาทิเช่น เสื่อสาด, ไม่รู้ไม่ชี้ , วัดวาอาราม, ร้องห่มร้องไห้ ,  อาบน้ำอาบท่า , กินน้ำกินท่า   เป็นต้น

  • คำอุทานเสริมบท  แบ่งได้เป็น 3 ชนิด

2.1 ใช้เป็นคำสร้อยของบทประพันธ์   เช่น   เอย ,   แฮ ,  นา , โอ้,   ฮา,  เฮย , แล   เอ๋ย

  • ตัวอย่าง

    • โครงสี่สุภาพ(บทประพันธ์เรื่องลิลิตพระลอ)

      เสียงลือเสียงเล่าอ้าง          อันใด  พี่เอย

    • โครงสี่สุภาพ    (หัวใจนักปราชญ์)

      สุ.-สดับรดถ้อยท่าน          วิญญู-ชนเฮย

    • โคลงสี่สุภาพ   (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5)

      บังอรอัคเรศผู้                  พิสมัย  ท่านนา

      นามพระสุริโยทัย                     ออกอ้าง

      ทรงเครื่องยุทธพิชัย                  เช่นอุป-ราชแฮ

      เถลิงคชาธารคว้าง                    ควบเข้าขบวนไคล

    • กลอนดอกสร้อย

      วังเอ๋ยวังเวง                      หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน

    • ร่ายสุภาพ  จากโคลงนิราศนรินทร์ ของ นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)

      ศรีสิทธิ์พิศาลภพ

      เลอหล้าลบล่มสวรรค์

      จรรโลงโลกกว่ากว้าง

      แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ

      ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า...............ฯลฯ

      เลี้ยงทแกล้วให้กล้า

      พระยศไท้เทิดฟ้า

      เฟื่องฟุ้ทศธรรม  ท่านแฮ

2.2 ใช้เป็นคำแทรก หน้าคำ   ระหว่างคำ  หรือหลังคำ

  • ตัวอย่าง

    • ก.เอ๋ย ก.ไก่

    • มาเถิดนาแม่นา

    • โอ้อกเอ๋ย

2.3 ใช้เป็นคำเสริมหรือเน้นความหมายของคำนั้นให้เด่นชัดขึ้น หรือเสริมคำให้ยาวออกไปโดยไม่คำนึงถึงความหมาย

  • ตัวอย่าง

    • วัดวาอาราม

    • ไม่รู้ไม่ชี้

    • เข้าอกเข้าใจ

    • ร้องห่มร้องไห้

    • อาบน้ำอาบท่า

    • กินน้ำกินท่า