คำประวิสรรชนีย์
วิสรรชนีย์ ใช้เรียกสระ “อะ” เมื่อนำพยัญชนะมาประสมกับสระ “อะ” แล้วกลายเป็นคำในภาษาไทย คำนั้นจะยังคงมองเห็นรูปสระ “อะ” อยู่ท้ายพยางค์ เมื่อเปล่งเสียงออกมา จะออกเสียง “อะ” เต็มเสียง เราเรียกคำนั้นว่า “คำที่มีประวิสรรชนีย์”
สังเกตง่าย ๆ ก็คือ คำใดที่ประสมด้วยสระ “อะ” และคงรูปสระ “อะ” ไว้ จะเป็นคำที่มีประวิสรรชนีย์ นั่นเอง
หลักการสังเกตคำที่มีประวิสรรชนีย์
คำที่มีประวิสรรชนีย์ส่วนมากจะเป็นคำประเภทนี้
คำไทยแท้ เช่น กะทะ กะทิ กะปิ กะบะ ตะลึง ตะปู มะระ มะลิ มะละกอ มะตูม ตะขบ ตะขาบ ตะวัน ตะเฆ่ โทสะ
คำท้ายของคำบาลี -สันสฤต เช่น ปัสสาวะ อัสสะ สิระ ตักกะ ปาปะ ศรีษะ ทรรศนะ
คำที่กร่อนเสียง “อะ” เช่น หมากพร้าว เป็น มะพร้าว, หมากม่วง เป็น มะม่วง สายดือ เป็น สะดือ, คำนึง เป็น คะนึง ฉันนั้น, ฉันนี้ เป็น ฉะนั้น, ฉะนี้
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น บะหมี่ ตะหลิว คะน้า แป๊ะซะ สะเต๊ะ โซบะ ซากุระ บ๊ะจ่าง สะดม มะเดหวี มะมุมมะงาหรา มะตะบะ เมาะตะมะ
เทคนิคการจำคำประวิสรรชนีย์
คำที่เดิมเป็นคำที่มีประวิสรรชนีย์ เมื่อเติม “ร” เข้าไป คำนั้นก็ยังคงเป็นคำที่มีประวิสรรชนีย์เช่นเดิม เช่น คำว่า จะเข้ เมื่อเติม “ร” เข้าไป จะเป็นคำใหม่ว่า “จระเข้”
คำไทยแท้ที่ขึ้นต้นด้วย “ ก ต ส ” และประสมด้วยสระ “อะ” จะเป็นคำที่มีประวิสรรชนีย์ เช่น กะทะ กะทิ มะลิ ตะปู ตะลึง สะดือ สะใภ้
คำควบกล้ำที่มี “ร” มักเป็นคำที่มีประวิสรรชนีย์ เช่น กระป๋อง ประกาศ ประวัติ กระดาษ
คำประวิสรรชนีย์ที่มักเขียนผิด
คำที่เขียนถูกต้อง |
มักเขียนผิดเป็น |
---|---|
คะนึง |
คนึง |
คะน้า |
คน้า |
อะลุ่มอล่วย |
อลุ้มอล่วย |
อะไหล่ |
อไหล่ |
สะอาด |
สอาด |
ขะมุกขมัว |
ขมุกขมัว |
ขะมักเขม้น |
ขมักเขม้น |
พะยอม |
พยอม |
พะเน้าพะนอ |
พะเน้าพนอ |
ทะนาน |
ทนาน |
ทะยาน |
ทยาน |
ทะเล้น |
ทเล้น |
ทะมัดทะแมง |
ทมัดทแมง |
ชะลอ |
ชลอ |
ระดา |
รดา |
ชะอ้อน |
ชอ้อน |
ชะแลง |
ชแลง |