ผลกระทบของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ต่อสมรรถนะเครื่องอบแห้งและปริมาณน้ำตาลในการผลิตภัณฑ์มะม่วงแช่อิ่ม = The effect of using solar energy on dryer performance and sugar content of mango glace
- ผู้เขียน
กิติศักดิ์ จิตต์อารี
- เอกสารที่มา
วิทยานิพนธ์. (2539) 119 หน้า
- หัวข้อ:
In the second step, an examination of the effect of hot air from the solar collector, in term of its temperature and drying period, on quantities of sucrose and invert sugar in mango glace during the drying process was performed. The sweetness of the mango glace under test was 55 °Brix at drying temperature of 50, 60, 70 and 80 °C for 20 hours. According the investigation , the quantity of sucrose in mango glace was found to reduce by changing to invert sugar. The situation could be observed when the hot air temperature and drying time increased. Subsequently, the results obtained were analysis showed that the changing of sucrose to invert sugar could be explained by the first order reaction with respect to the sucrose. In addition, it was found that the activation energy used in the reaction was 55.6 kJ/mol and the frequency factor was 151.5x10³ min-¹ . The reaction rate data found in this study in couple with drying rate model can be used to predict and simulate appropriate conditions of drying process for optimum quality of mango glace.
บทคัดย่อ
การศึกษาถึงผลกระทบของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต่อสมรรถนะและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการอบแห้งมะม่วงแช่อิ่มแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ในขั้นแรกทำการทดสอบสมรรถนะของตัวรับรังสีแบบแผ่นเรียบ และหาค่าการประหยัดพลังงานของระบบอบแห้งเมื่อใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์เสริมและทดแทนพลังงานไอน้ำ จากการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนจากแสงอาทิตย์เสริมและทดแทนพลังงานไอน้ำ จากการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพเชิงร้อนของตัวรับรังสีแบบแผ่นเรียบที่มีพื้นที่รับรังสี 100 ตารางเมตร ระหว่างเวลา 9.00-16.00 น. โดยที่อัตราการไหของอากาศผ่านตัวรับรังสีมีค่า 1.23 kg/s ค่าความเข้มรวมของแสงอาทิตย์มีค่าระหว่าง 130-1029 W/m² อุณหภูมิของอากาศแวดล้อมมีค่าระหว่าง 26-34 °C พบว่าประสิทธิภาพเชิงความทร้อนของตัวรับรังสีมีค่าอยู่ระหว่าง 30-65 °C พบว่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของตัวรับรังสีมีค่าอยู่ระหว่าง 30-65 % และค่าการประหยัดพลังงานเมื่อทำการอบแห้งมะม่วงแช่อิ่มโดยใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไอน้ำในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่าสามารถประหยัดการใช้พลังงานไอน้ำลงได้ 25-27 % และที่ช่วงการอบแห้งเวลา 10-.00-22.00 น. เป็นเวลา 12 ชั่วโมง จะสามารถประหยัดการใช้พลังงานไอน้ำลงได้ 20-40 %