๑.๒ คำอธิบาย

เศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดทางการค้าระหว่างประเทศแบบ Comparative advantage แสดงให้เห็นว่าประเทศควรมีความรู้นู้จักพอประมาณและมีเหตุผล เช่นรู้ว่า ควรที่จะผลิตหรือส่งเสริมการผลิตสินค้าชนิดใด ซึ่งความมีเหตุผลและการรู้จักพอประมาณนี้สะท้อนให้เห็นถึงการมีความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังในการวางแผน และการดำเนินการผลิต

ในส่วนทฤษฎีการค้าแบบใหม่ เน้นไปในทางการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนการผลิตเพื่อขยายการผลิต (Increasing return to scale) ซึ่งส่วนสำคัญที่เพิ่มขึ้นนี้ ช่วยในการวิเคราะห์ทิศทางการค้าระหว่างประเทศโดยประเทศมีแนวโน้มที่จะส่งออก ก็ต่อเมื่อมีความพอเพียงสำหรับบริโภคภายในประเทศก่อน แนวคิดนี้จะช่วยลดความเสี่ยง ทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพาตลาดภายนอกมากจนเกินไป นับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ในอีกลักษณะหนึ่ง

ผู้เขียนได้กล่าวถึงประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์ว่า ควรมีแนวทางที่รอบคอบเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่จะก่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างกันมากขึ้น ดังนั้นการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้จึงต้องมีความยืดหยุ่นทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

การค้าระหว่างประเทศมิได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบที่แท้จริง จึงขัดต่อแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การตั้งกำแพงภาษี หรือการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบที่ยั่งยืน

การส่งเสริมการส่งออกที่ยั่งยืนจะสำเร็จได้ ถ้าสามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จากปัจจัยพื้นฐาน ที่ประเทศตนมีความได้เปรียบอย่างแท้จริง เพื่อเพิ่มพลวัตรในการต่อสู้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สามารถเป็นแรงสนับสนุน