พิธีอนุโมทนา

การทำบุญทุกชนิด เมื่อเสร็จพิธีแล้ว พระก็อนุโมทนา คำว่า อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีด้วย พลอยยินดีด้วย ความพอใจ ความขอบใจ การ ให้ศีลให้พร

การอนุโมทนามี ๒ อย่าง คือ :

๑. อนุโมทนาตามปกติ

๒. อนุโมทนาตามกาลพิเศษ

อนุโมทนาตามปรกติ นั้น ได้แก่อนุโมทนาซึ่งท่านผู้เป็นท่านสังฆ์ เริ่มนำขึ้นดังนี้:-

ยทา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนตุ สาครา

เรวเมว อิโต ทินนานิ เปตานุปกัปปติ

อิจฉิตัง ปติตัง ตุมห์ ชิปปเมว สมิชันตุ

สพเพ ปูเรนตุ สงกปา จันทโล ปณณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา

รับพร้อมกัน

สพพีติโย วิวชชนตุ สพพะโรโค วินสุสตุ

มา ฑี ภวตุวนุตราโย สุขี ทีมายุโก ภว

อภิวาทนสีลิสา นิจจ วุฑฺฒาปจายิโน

จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

คำแปลบท ยถา ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ที่ ละโลกนี้ ไปแล้วได้ เหมือนห้วงน้ำที่เค็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม เปี่ยม ฉะนั้น

ขอผลที่ท่านปรารถนา ตั้งใจ จงสำเร็จโดยเร็วพลัน

ขอความดำริทั้งปวงจงบริบูรณ์ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ เหมือน แก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฉะนั้น

คำแปลบท สพพี ความจัญไรทั้งปวงจงปราศจากไป โรคทั้งปวง จงพินาศไป อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่านจงมีความสุข มีอายุยืน

ธรรม ๔ ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ มีปรกติกราบไหว้ มีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์

อนุโมทนาตามกาลพิเศษ นั้น แล้วแต่รูปของพิธี ถ้าเป็นพิธีเกี่ยว กับการมงคลทั่วไป พระท่านก็อนุโมทนาด้วยบทชื่อว่า มงคลจักรวาฬน้อย ว่าดังนี้;-

สพพพุทธานุภาเวน สพพธมฺมานุภาเวน สพพสงฺฆานุภาเวน พุทธฺธรตนํ ธมฺมรตนํ สงฺฆรตนํ ติณฺณํ รตนานํ อานุภาเวน จตุราสิติ สหสฺสธมฺกฺขนุธานุภาเวน ปีตุกตุลฺยานุภาเว

ฯ เป ฯ

สตฺถุสา จ อายุ จ ชีวสิทธิ ภวนฺตุ เต

คำแปล

ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ด้วยอานุภาพของพระธรรม ทั้งปวง ด้วยอานุภาพของพระสงฆ์ทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งรัตนะสาม คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘๔๐๐๐ ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฎก ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระพุทธเจ้า ขอโรคภัย อันตราย อุบาทว์ นิมิตร้าย อวมงคลทั้งหลายของท่านจงพินาศไป

ความเจริญอายุ ความเจริญทรัพย์ ความเจริญสิริ ความเจริญยศ ความเจริญกำลัง ความเจริญวรรณะ ความเจริญสุข จงมี (แก่ท่าน) ใน กาลทุกเมื่อ

ทุกข์ โรค ภัย และเวรทั้งหลาย ความโศก ศัตรูและอุบาทว์ทั้ง หลาย ทั้งอันตรายทั้งหลายไม่น้อย จงพินาศไปด้วยเดช

ความชนะ ความสำเร็จ ทรัพย์ ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง สิริ อายุ วรรณะ โภคะ ความเจริญ ความเป็นผู้มียศ และอายุยืน ๑๐๐ ปี อีกทั้งความสำเร็จในชีวิต จงมีแก่ท่าน ฯ

ถ้าเป็นพิธีเกี่ยวกับถวายทานตามกาลเวลาที่กำหนด เช่น ถวายผ้า อาบน้ำฝน ถวายผ้าจำนำพรรษา ทอดกฐินเป็นต้น ท่านก็อนุโมทนาด้วยบท กาลทานสุตตคาถา คือ คาถาอนุโมทนาตามกาล ว่าดังนี้

กาเล ททนุติ สปญฺญา วทญฺญ วิตมจฉรา

กาเลน ทินน์ อริเยสุ อุจจฺวุเตสุ ตาทิสุ

ฯเปฯ

ปุญฺญานิ ปรโลกมฺหิ ปติฏฺฐา โหนฺตุ ปาณินนฺตุ

คำแปล

ทายกเหล่าใดมีปัญญารู้จักพูด ปราศจากความตระหนี่ มีความเลื่อมใส ในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ซื่อตรงคงที่ถวายทานตามกาลสมัยนิยม ทักษิณาของทายกนั้นย่อมมีผลไพบูลย์

ชนเหล่าใดพลอยอนุโมทนาก็ดี ช่วยทำการขวนขวายในทานนั้นด้วย ก็ดี ทักษิณาของเขามิได้บกพร่องไปด้วยเหตุนั้น ชนแม้เหล่านั้นก็ย่อมมี ส่วนบุญด้วย

เพราะฉะนั้น ทายกไม่ควรท้อถอย ถวายทานในที่ใดมีผลมากควร ถวายในที่นั้น บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้าฉะนี้ ฯ

ถ้าเป็นพิธีเกี่ยวกับทำบุญอายุ ทำบุญวันเกิด ท่านก็อนุโมทนาด้วยบท โภชนทานานุโมทนาคาถา คือคาถาอนุโมทนาการถวายโภชนะว่าดังนี้:-

อายุโท พลโท ธีโร วณฺณโท ปฏิภาณโท

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ

อายุ ทตฺวา พลํ วณฺณํ สุขํ ปฏิภาณะ

ทิฆายุ ยสวา โหติ ยโต สุปฺปฏฺฐตฺติ เตฺติ

คำแปล

ผู้มีปัญญา ให้อายุ ให้กำลัง ให้วรรณะ ให้ปฏิภาณ ให้ความสุข ย่อมได้ประสบสุข

บุคคลให้อายุ วรรณะ สุข และปฏิภาณ บังเกิดในที่ใด ๆ ย่อมมี อายุยืนมียศในที่นั้น ๆ ฉะนี้ ฯ

ถ้าเป็นพิธีเกี่ยวกับถวายทานทั่วๆ ไป ท่านก็อนุโมทนาด้วยบท อัคคัป ปสาทสุตตคาถา คือคาถาอนุโมทนาทานทั่วไป ของทายกผู้มีความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัยอันเลิศ ว่าดังนี้:-

อคคโต เว ปสนฺนานํ อคคํ ธมฺมิ วิชานนฺติ

อคคเค พุทฺเธ ปสนฺนานิ ทกขิเณยฺเยุยนฺติ

อคเค ธมฺเม ปสนฺนานิ วิราคูปสเม สุเข

อคคเค สงฺเฆ ปสนฺนานิ ปุญุณเขตเต อนุตุตเร

ฯ เป ฯ

เทวภูโต มนุสุโส วา อคคปุปฺปตฺโต ปโมทตีติ

คำแปล

เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศ เลื่อม ใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิเณยบุคคลยอดเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรม อันเลิศซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ และสงบระงับเป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้เป็นเนื้อนาบุญยอดเยี่ยม ได้ถวายทานในท่านผู้เลิศนั้น บุญอันเลิศก็ย่อม เจริญ อายุ วรรณะ ที่เลิศ และ ยศ เกียรติ สุข กำลัง ที่เลิศย่อมเจริญ

ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ จะไปเกิด เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศรื่นเริงบันเทิงอยู่ ฉะนี้ ๆ ถ้าเป็นพิธีเกี่ยวกับถวายเสนาสนะ เช่น กุฎี วิหาร เป็นต้น ท่านก็ อนุโมทนาด้วยบท วิหารทานคาถา คือ คาถาอนุโมทนาการถวายที่อยู่ ว่าดังนี้--

สีติ อุณหิ ปฏิหนุติ ตโต วาฬมิคานิ จ สิริสปฺเป จ มกเส สิสิเร จาปี วุฏฺภิโย

ตโต วาตาตโป โฆโร สญฺชาโต ปฏิหญฺณติ

เลณตุ ฏฐณู จ สุขฏฐณจ ฌายิตุง จ วิปสุสิตํ

ฯ เป ฯ ยํ โส ธมฺฯ มธฅย ปรินิพพุตปินาสโวติ

คำแปล

เสนาสนะย่อมป้องกันเย็น ร้อน สัตว์ร้าย งู ยุง น้ำค้าง และ ฝน และลมแดดอันกล้าเกิดขึ้นแล้วย่อมบรรเทาไป

การถวายที่อยู่แก่สงฆ์ เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเจริญมรรค และเพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นทานเลิศ

เพราะฉะนั้นคนผู้ฉลาด เมื่อมองเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างที่อยู่อัน รื่นรมย์ให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตอยู่เถิด

อนึ่ง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ แก่ท่านเหล่านั้นด้วยน้ำใจ อันเลื่อมใสในท่านผู้ชื่อตรง

ท่านเหล่านั้นย่อมจะแสดงธรรม อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งหมด ซึ่งเมื่อเขาได้รู้แล้วจะเป็นผู้สิ้นอาสวะ ถึงพระนิพพาน ฉะนี้ ฯ

ถ้าเป็นพิธีเกี่ยวกับทำบุญบ้าน ท่านก็อนุโมทนาด้วยบท เทวตา ทิสสทักขิณานุโมทนาคาถา คือคาถาอนุโมทนาทักษิณาทานอุทิศเทวดาว่า ดังนี้--

ยสุมิํ ปเทเส กปุพฺเพติ วาสํ ปณฺฑิตชาติโย

สีลวนฺเตตุลฺล โภชตุวา สญฺญเต พฺรุหาจาริโน

ยา ตตฺถํ เทวตา อาส ุ ตาสํ ทกฺขิณมาทิเส

ตา ปูชิตา ปูชยนฺติ มานิตา มานยนฺติ น

ตโต นํ อนุกมฺปนฺติ มาตา ปุตฺตํ วิ โอสรฺเส

เทวดานุกมฺปิโต ปุริโส สทา ภทฺทานิ ปสํสติ

คำแปล

ชาติคนฉลาดอยู่ในประเทศใด พึงเชิญท่านผู้มีศีล มีความสำรวม ระวัง ประพฤติธรรมประเสริฐมาเลี้ยงดูกันในที่นั้น พึงอุทิศทักษิณาทานแก่ เทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ที่นั้นด้วย

เทวดาที่ได้รับบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ ที่ได้รับความนับถือแล้วย่อม นับถือตอบ ย่อมอนุเคราะห์เขาเหมือนบิดาอนุเคราะห์บุตรอันเกิดแต่อกฉะนั้น คนที่เทวดาอนุเคราะห์ ย่อมประสบความเจริญทุกเมื่อ ฉะนี้ ฯ

ถ้าเป็นพิธีเกี่ยวกับถวายยานพาหนะ เช่นเรือ และรถ เป็นต้น ท่าน ก็อนุโมทนาด้วยบท ยานทานานุโมทนาคาถา คือคาถาอนุโมทนาการถวาย ยาน ว่าดังนี้:-

อนุชานา ภนฺเต ยานิ มาลาคนฺธ วิเลปนํ

เสยฺยาวาสถํ ปทีเปยฺยํ ทานวตฺถุ อิเม ทส

อนุโมทนา พลทตฺตโถ โหติ วณะทตฺตโถ

ยานทตฺตโถ สุขทตฺตโถ โหติ จกฺขุทตฺตโถ

ฯ เป ฯ

เอตสฺสุเม ชนยุยสมุปสาทนเจตโส

คำแปล

ทานวัตถุมี ๑๐ อย่าง คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย ประทีป

ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ผู้ให้ยานชื่อว่าให้ ความสุข ผู้ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ

ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้วัตถุอันเลิศ ย่อมได้วัตถุ อันเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ฐานะอันประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะ อันประเสริฐ

คนใดให้ของเลิศ ให้ของดี ให้ฐานะประเสริฐ คนนั้นจะเกิดในที่ ใด ๆ ย่อมมีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ

ด้วยสัจวาจาภาษิตนี้ ขอความสวัสดีและความสุขอันเกิดจากความไม่ มีโรค และอนามัยอันดีจงมี (แก่ท่านทั้งหลาย) ตลอดไป

ขอผลแห่งจิตที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็น ผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ

ถ้าเป็นพิธีเกี่ยวกับทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ที่ล่วงลับไปนานแล้ว ท่านก็ อนุโมทนาด้วยบท อาทิยสุตตคาถา คือ คาถาอนุโมทนาบุญที่ผู้ทำยึดไว้ ได้แล้ว ว่าดังนี้ -

ภุตา ตา โภคา ภตา ตตฺถ จ วิตรณา อาปทาสุ เม

อุทฺธคุ จ ทุทฺสิณา ทินฺนา อถ ปญฺจ พลี กตา

อุปฏิตา สีลวนฺโต สนุญฺาตา พรูหมฺจาริโน

ฯ เป ฯ

อิเหว นํ ปสฺสนฺติ เปจฺจ สคฺเฆ ปโมทนฺติ

คำแปล

โภคะทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว บุคคลที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลายเราได้ข้ามพ้นไปแล้ว ทักษิณาที่มีผลเจริญเราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลี ๕ ประการ (ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ ๑ อติถิพลี ต้อนรับแขก ๑ ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ๑ ราชพลีถวายเป็นหลวง มีเสียอากรเป็น ต้น • เทวดาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา) เราได้ทำแล้ว ท่านผู้มีศีลสำรวม ดี ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว บัณฑิตผู้ครองเรือนปรารถนา โภคะเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว กรรมที่ไม่เดือด ร้อนในภายหลัง เราได้ทำแล้ว

บุคคล เมื่อระลึกถึงคุณข้อนี้ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้

บุคคลนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฉะนี้ ฯ

ถ้าเป็นพิธีทำบุญอุทิศให้ผู้ตายใหม่ ๆ ท่านก็อนุโมทนาด้วยบท ติโร- กุททกัณฑคาถา คือคาถาอนุโมทนาการทำบุญอุทิศถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ว่าดังนี้

อทาสิ เม อกาสิ เม ญาติมิตฺตา สขา จ เม

เปตานํ ทกฺขิณ์ ยชา ปุพฺเพ กตมนุสฺสริ

น หิ รุณฺณํ วา โสโก วา ยาวญฺญา ปริเทวนา น ตํ เปตานมตุถาย เอวํ ติภชนุติญาตโย

ฯ ป ฯ

ผลญฺจ ภิกฺขูนมนุปปทินฺนํ ตุมฺเหหิ ปญฺญตํ ปสุตํ อนุปปกนุติ

คำแปล

บุคคล เมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่านได้ทำแก่ตนไว้ในกาลก่อนว่าผู้นี้ ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ทำกิจของเรา เป็นญาติ มิตรสหายของเราดังนี้แล้ว ควรให้ทักษิณาทานแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

การร้องไห้ก็ดี การเศร้าโศกก็ดี การร่ำไรรำพันถึงอย่างอื่นก็ดี ไม่ ควรทีเดียว เพราะว่า การร้องไห้เป็นต้นนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลาย ผู้ล่วงลับไปแล้ว (ถึงจะร้องให้เศร้าโศกรำพันถึง) ญาติทั้งหลายก็คงดำรง อยู่อย่างนั้น

ก็ทักษิณาทานที่ท่านให้แล้วนี้แล ตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จ ประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไป ตลอดกาลนานตามฐานะ

ญาติธรรมนี้ ท่านได้แสดงให้ปรากฏแล้ว และการบูชาอันยิ่งท่าน ก็ได้ทำแล้ว แก่ญาติทั้งหลายผู้ล่วงลับไป ทั้งท่านชื่อว่าเพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุ ทั้งหลายแล้ว ท่านขวนขวายบุญมีประมาณไม่น้อย ฉะนี้ ๆ

ถ้าเป็นพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ท่านก็อนุโมทนาด้วยบท สัจจะปาน วิธยานุรูปคาถา คือคาถาสำหรับอนุโมทนาในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาว่าดังนี้.--

สุจิ เว อมตา วาจา เอส ธมฺโม สนนุทโน

สุจุเจ อตุเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติภูธิตา

สทุธีธ วิตุติ ปุริสสุส เสตุจิ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ

สุตจิ หเว สาธุตร์ รสานิ ปัญญาชีวิชีวิตมาหุ เอกจ์

ฯ เป ฯ

ยทิ สุจจา ธมฺมา จาคา ขนุตยา ภิยุโยธ วิชุติติ

คำแปล

ความจริงแลเป็นคำไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของเก่า คนดีทั้งหลายดำรง อยู่แล้วในความสัตย์ ทั้งที่เป็นอรรถเป็นธรรม ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่อง ปลื้มใจอันประเสริฐของบุรุษในโลก ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วนำสุขมา ให้ ความจริงนั้นแหละเป็นรสอร่อยกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์กล่าวชีวิต ของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด เมื่อบุคคลเชื่อต่อการบรรลุพระ นิพพานอันเป็นธรรมของพระอรหันต์ ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้ไม่ ประมาท ใคร่ครวญ ทำการอันสมควร มีธุระ มีความขยัน ย่อมได้ทรัพย์ บุคคลย่อมได้เกียรติเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกพันมิตรทั้งหลายไว้ได้ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือสัจจะ (ความจริง) ทมะ (ความข่มใจ) ธิติ (ความตั้งมั่น) จาคะ (การเสียสละ) มีอยู่แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้มีศรัทธา อยู่ครองเรือน บุคคลนั้นละโลกนี้ ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

ถ้าธรรมในโลกนี้จะมียิ่งไปกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ เชิญท่าน ลองถามสมณพราหมณ์แม้พวกอื่นเป็นอันมากดู ฯ

พิธีอนุโมทนาที่ได้รวบรวมมากล่าวไว้นี้ ย่อมได้ฟังกันเสมอในพิธี ต่าง ๆ สำหรับบทอนุโมทนาตามปกติ คือ ยถา และ สพุพี ต้องมีทุกเรื่อง ไป ส่วนบทอนุโมทนาตามกาลพิเศษนั้น แล้วแต่รูปของพิธีที่ทำดังได้บอก ไว้แล้ว และตอนสุดท้ายก็มีบทต่อไปนี้ทุกพิธีไป

ภวตุ สพฺพมังคละ รุกขนตุ สพุพเทวตา

สพฺพพุทฺธานุภาเวน สทา โสตุถิ ภวนตุ เต

ภวตุ สพฺพมังคละ รุกขนตุ สพุพเทวตา

สพฺพธมฺมานุภาเวน สทา โสตุถิ ภวนตุ เต

ภวตุ สพฺพมังคละ รุกขนตุ สพุพเทวตา

รกขนตุ สพุพเทวตา สทา โสตุถิ ภวนตุ เต ฯ