การกราบไหว้
การไหว้เป็นอาการที่แสดงทางกาย จะต้องทำให้ถูกระเบียบของการ ไหว้เพื่อคารวะต่อวัตถุที่นึกน้อมเป็นอารมณ์นั้นในเบื้องต้นตั้งกายให้ตรง จะ นั่งท่าไหนก็นั่งให้ตรงจะยืนก็ยืนให้ตรง แล้วประนมมือนิ้วทุกนิ้วให้ชิดกัน และเหยียดตรง ไม่ทำหงิก ๆ งอ ๆ ไม่ให้นิ้วสอดกัน ขณะประนมมือนั้น ควรวางให้ถูกที่ ไม่ควรเอาวางไว้ที่พุง หรือ เอาขึ้นจ่อที่ปาก ควรวาง ระหว่างทรวงอก จึงจะถูกต้องด้วยเหตุผลเพราะในทรวงอกของเรามีหัวใจ หัวใจเป็นของเหมาะที่จะบูชาพระ การประนมมือคือวัตถุแทนดวงใจตรงกับ โคลงที่ว่า มโนมอบพระผู้เสวยสวรรค์ ดังนี้เป็นระเบียบการไหว้ต่อไปถึง คราวกราบ การกราบนั้นกราบเวลานั่งไหว้ และการนั่งก็นิยมนั่งคุกเข่า ส้นเท้าทั้งสองชิดกันเข่าทั้งสองจดพื้นประนมมือแค่หว่างอก ขณะก้มลงกราบ พยายามกดให้กันชิดกันอยู่กับเท้า ไม่ควรเผยอขึ้นจนน่าเกลียด แล้วกราบ ลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แปลว่าประดิษฐานครบองค์ห้า คือให้เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง หน้าผากหนึ่งรวมเป็นห้า จดลงถึงพื้น มีวิธีทำดังนี้ ยกมือที่ ประนมนั้นขึ้นจดที่หน้า กราบลงไปพร้อมกับศีรษะ เมื่อจะถึงพื้นแยกฝ่ามือ ออกจากกันกราบลงไปกับพื้น และปลายศอกทั้งสองจดกับเข่าทั้งสอง นี้เป็น ระเบียบการไหว้พระ เมื่อเสร็จไหว้พระกราบพระแล้ว จะนั่งราบเพื่อ สวดมนต์ต่อไปก็ได้