ประเพณีบวชนาค

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย

วันเดือนปีได้เวียนมาบรรจบครบรอบของปี บัดนี้ ถึงหน้า บวชนาคกันอีกแล้ว พวกเราที่เป็นชาวพุทธมีลูกมีหลานซึ่งมีอายุถึง คราวจะบวช ก็เตรียมการไว้พร้อมและคงจะได้กะวันแล้วด้วยซ้ำ ไป ฝ่ายผู้ที่ไม่มีลูกหลานที่ถึงคราวจะบวชอย่างนั้น ก็คงจะได้รับ บอกเล่าจากญาติ มิตรผู้ ซึ่งจะประกอบพิธีบวชกัน

คำว่าบวช แปลว่าออกไป หมายความว่าออกไปจาก บ้าน ปลีกตัวอยู่แต่ผู้เดียว ไม่เกี่ยวด้วยเรื่องของชาวบ้าน การ บวชนี้ เท่าที่ปรากฏอยู่ในเมืองเราเดี๋ยวนี้มีหลายประเภทด้วยกัน เรียกกันว่าบวชเณรบ้าง บวชพระบ้าง และยังมีบวชชีอีกด้วยนี้ เฉพาะที่มีในบุคคลผู้ถือในศาสนาพุทธ ส่วนผู้ถือศาสนาอื่นเขาก็ มีประเพณีบวชของเขาอย่างหนึ่งเหมือนกัน และเมื่อถึงระยะเวลา เช่นนั้นเขาก็ถือบวชเหมือนกัน ดูเหมือนว่าประเพณีบวชนี้นิยม กันทุกศาสนาโดยนิยมดังนี้ จึงเห็นได้ว่าการบวช เป็นกิจจำเป็น สำหรับชีวิตของบุคคลแต่ละคนที่นับว่าเป็นอารยะ ผู้ที่ยังอยู่ใน ภาวะของคนที่จัดว่าเป็นอารยะชนนั้น จำเป็นต้องถือเป็นหน้าที่อันหนึ่ง แม้ถึงจะไม่เป็นของจำเป็นแก่ชีวิตเช่นอาหารเป็นต้นก็ตาม แต่ถึง อย่างนั้นการบวชก็จำเป็นเนื่องด้วยชีวิตทางอนามัยอย่างหนึ่ง แต่ก็ต้องทราบซึ้งถึงการบวชนั้น มีบวชมากบวชน้อย บวชเล็ก บวชใหญ่ ตามกำลังที่จะพึงรับปฏิบัติได้ การหยุดงานในวันพระ ก็ดี ในวันอาทิตย์ก็ดี ที่แท้ก็คือในวันท่านให้หยุดงานวันหนึ่ง จะหยุดในวันหนึ่งวันใดก็ได้ ข้อสำคัญในวันต้องหักเสียวันหนึ่ง วันหยุดเช่นนี้ ก็ต้องมอบตัวถวายพระเสียวันหนึ่ง พระของใครก็ ของใครเมื่อทำอย่างนั้นก็คือบวชนั้นเอง แต่เป็นอย่างที่ว่าบวชน้อย หรือบวชเล็กนั้น แต่การบวชนี้เท่าที่ปรากฏในชาติภาคต่าง ๆ ซึ่งว่า ด้วยเรื่องประเพณีของขึ้นเมืองในยุคนั้น ๆ บ้าง ว่าด้วยลัทธิ นิยม ทางศาสนาบ้าง แสดงให้เห็นว่าการบวชเป็นกิจของผู้มีอายุมาก หรือของคนแก่ ดังที่ปรากฏในหลักหลายเรื่องว่า เมื่อบุคคลได้ ศึกษาอบรม ประกอบการงานครอบครองเหย้าเรือนสืบลูกหลาน แล้ว รู้ตัวว่าแก่แล้ว ด้วยความปรากฏแห่งอวัยวะบางส่วน เช่น ผมหงอกเป็นต้นก็ยอมสละสมบัติพัสถาน ผู้คนบริวาร ลูกเมีย ญาติ มิตร ออกบวชก็มี เมื่อครั้งพุทธกาล การบวชเป็นเรื่อง ของผู้เมื่อโลกแล้ว ต้องการค้นคว้าหาความจริงของตัวเองต่อไป โดยนัยนี้หมู่มนุษย์ได้ยอมเอาการบวชมาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ของหมู่มนุษย์เพราะการบวชนี้สามารถจะเป็นเครื่องบริหารร่างกาย และจิตใจได้เป็นอย่างดี และการบวชก็ได้วิวัฒนาการคู่มากับ ความเจริญของมนุษย์ด้วย

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เมื่อกล่าวเฉพาะชนชาติไทยเรา คนไทยเราก็น่าจะได้รับเอาการบวชนี้มาตั้งแต่ครั้งชนชาติไทยเรายังมิได้ถือศาสนาพุทธ โน้นแล้วแต่จะเป็นลัทธิอันใดนั้นก็ยากที่จะกล่าวให้ชัดลงไปได้แต่ก็มีเรื่องเก่า ๆ ที่ทำให้เรามองเห็นได้ว่า น่าจะเป็นเช่นนั้นจริง ในข้อที่เราจะเห็นได้จากเรื่องการบวชเป็นฤษีชีไพรของเราแต่ก่อน ๆ มาว่า เราได้นิยมการบวชมาแต่ก่อนเราถือพุทธศาสนาแล้ว แต่ถ้าจะกล่าวถึงการบวชตามที่นิยมในทางพุทธศาสนานั้น เราก็น่ากล่าวได้ว่า ชนชาติเราได้ถือการบวชตามลัทธิของพระพุทธศาสนามากตั้งแต่ครั้งเราได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ในครั้งเดิมเราจะถือเอาเป็นประเพณีของคนหนุ่มหรือของคนแก่นั้น เรายังกำหนดแน่ไม่ได้ เรามากำหนดเอาเพียงเป็นเค้าได้แน่ว่า เราเอาการบวชเป็นประเพณีของคนไทยได้ก็เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานีของประเทศไทยเรา ปรากฏตามตำนานว่า ในครั้งแผ่นดินพระยาลิไทยซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงครองกรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัย พระองค์ทรงเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนามากถึงกับสละราชสมบัติเสด็จออกผนวชในสำนักของสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดป่ามะม่วง ในการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสละราชสมบัติเสด็จออกผนวชคราวนั้น คงจะได้มีข้าราชการบริวารและไพร่ฟ้าประชาชนพากันออกบวชตามเสด็จด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อทรงผนวชแล้ว ก็คงจะมีผู้ที่บวชตามเสด็จลาสิกขาตามเสด็จด้วยอีก ตั้งแต่นั้นมาก็ได้เค้าว่าเมื่อถึงคราวจวนเข้าพรรษาก็มีผู้บวชกันเสมอ และถือเอาเป็นประเพณีมาตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นเดิม แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นประเพณีของคนหนุ่มหรือของคนแก่ ต่อมาในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของเมืองไทยเรา ก็ได้มีพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองกรุงศรีอยุธยาทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวชบางพระองค์ก็เหมือนกัน และการบวชก็น่าจะได้เป็นประเพณีแล้วด้วย เพราะปรากฏความในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อถึงจวนเข้าพรรษาซึ่งมักเรียกกันว่าหน้าพรรษานั้น ได้ถือเอาการบวชนาคหลวงเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่งซึ่งเนื่องกับพิธีเข้าพรรษาด้วย เมื่อพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงถือเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่งแล้ว ฝ่ายประชาราษฎรไพร่ฟ้าประชาชนก็น่าจะต้องประกอบพิธีเช่นนั้นตามพระราชนิยมด้วย ด้วยเหตุที่ทำกันเป็นการประจำปีเช่นนี้ การบวชก็น่าจะต้องตกลงมาถึงคนหนุ่มด้วย เมื่อคนหนุ่มได้บวชแล้ว แม้อยู่ต่อไปไม่ได้ต้องสึกออกมา ก็ได้ผลในทางอบรมจิตใจ ทำให้เป็นคนมีสติรู้จักระงับยับยั้งใจในเมื่อมีเหตุอันตรายร้ายแรงเกิดขึ้นแก่ตัวเขา หรือแม้ถูกกระทบกระทั่งถึงภาวะและฐานะของตัว และอีกประการหนึ่งเมื่อบวชแล้วพอเหมาะไปบวชในสำนักที่มีครูดี ผู้บวชนั้นเองนอกจากจะได้ศึกษาหาความรู้ตามหลักเกณฑ์ของผู้บวชแล้ว ผู้บวชยังได้โอกาสศึกษาหาวิชาความรู้เพิ่มเติมมาใช้เมื่อสึกแล้วด้วย ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เป็นพลเมืองดีเท่านั้น การบวชยังช่วยให้มีอาชีพเป็นหลักฐานอีกด้วย ทั้งคงจะเป็นที่นิยมกันในยุคนั้นทั่วไปต่อมาจึงดูเป็นที่ปรารถนากันนัก ใครมีบุตรหลานเป็นชายแล้วก็ดูกระหยิ่มยิ้มย่องกันนักว่าจะต้องให้บวช แม้บัดนี้ก็ยังมีนิยมเช่นนั้นอยู่ในบางท้องถิ่น นิยมนับถือกันว่าเมื่ออายุครบ มีบริบูรณ์ต้องบวช ถ้าไม่บวชก็นับว่ายังเป็นคนดิบแถมบางท้องถิ่นไม่มีใครยอมแต่งงานกับผู้ไม่ได้บวชด้วยซ้ำไป ทำไมเขาจึงนิยมนับถือกันเช่นนั้น คิดดูโดยรอบคอบแล้ว ของเขาก็มีเหตุผลเหมือนกัน เพราะการครองเรือนนั้นเป็นภาวะหนักสำหรับคนทั่วไป ตั้งต้นแต่ต้องอยู่ร่วมกับคนที่ไม่เคยเป็นญาติมิตรกันมาก่อน แม้จะมีความรักใคร่กันเพียงไรก็ตาม ก็ยังคงถูกมายาบีบบังคับไว้อยู่นั้นเอง และเมื่อจำต้องอยู่ร่วมกันแล้ว จะเป็นใคร ๆ ก็ตามแม้ไม่ใช่คู่ผัวตัวเมียกันก็ดี หรือแม้จะเป็นคู่ผัวตัวเมียกันก็ดี ก็ต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้างจนได้ ไม่มากก็น้อย น้อยนักที่จะปลอดไปได้ เมื่ออยู่ครองกันเป็นเหย้าเป็นเรือนแล้ว ภาวะอันแรกก็คือการหาเลี้ยงชีพ ต้องเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงพ่อแม่ที่แก่เฒ่าแล้ว ต้องเสียภาษีอากร ต้องบำรุงพระศาสนาที่คนนับถือ ต้องบำรุงสาธารณสถานอันเป็นสมบัติของชาติเพื่อรักษามรดกของชาติสืบไป สิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบต้องอาศัยความพยายามบากบั่น มานะ อดทน หนักเอาเบาสู้อยู่ตลอดเวลา การที่จะมีความอดทนได้ถึงปานนั้น ก็ต้องอาศัยการบวชเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นการบวชย่อมอำนวยประโยชน์แก่ผู้บวชมากอยู่ สามารถจะให้ความรู้ที่เป็นเครื่องบำรุงกายและเป็นเครื่องบำรุงใจ ทำให้มีชีวิตเป็นอยู่ได้ในโลกด้วยความสวัสดี แต่การบวชที่แท้จริงของพระพุทธศาสนานั้น มุ่งความสิ้นทุกข์เป็นที่ตั้ง แต่การบวชจะให้ได้ผลดังกล่าวมาต้องเลือกวัดหน่อย เหมือนเด็กต้องเลือกโรงเรียนให้เหมาะสมฉะนั้น มิฉะนั้นก็จะคลาดจากประโยชน์ดังกล่าว

ในทุกวันนี้ไทยชาวพุทธเราก็ยังถือว่า การบวชเป็นสำคัญอยู่เหมือนกัน และเราก็ยังนิยมบวชอยู่ทั่วไป แม้ไม่บวชเองก็สนับสนุนผู้ที่สามารถจะบวชได้ และอุปถัมภ์บำรุงผู้บวชตามโอกาส การบวชที่ยังนิยมทำกันเป็นประเพณีอยู่ในบัดนี้นั้น เมื่อผู้เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองของผู้จะบวช เวลาที่บุตรหลานคนมีอายุครบบวชแล้ว เมื่อได้พิจารณาดูว่า บุตรหลานของคนนั้นปราศจากบุรพโทษแล้ว จึงหาตัวไปมอบกับพระเถระรูปใดรูปหนึ่งที่ควรเห็นสมควร ปรึกษาเรื่องคุณสมบัติของผู้จะบวชมอบตัวถวายให้ท่านฝึกหัดเรื่องการจะเป็นพระเณรต่อไป การฝึกหัดวิธีบวชนั้นจำเป็นยิ่งนัก ผู้จะบวชจะต้องรู้ว่า เมื่อบวชแล้วพระเณรต้องยืนย่างนั่งนอนอย่างไร ต้องนุ่งห่มอย่างไร ต้องทำต้องพูดต้องคิดอย่างไร จึงจะเป็นอิริยาบถของพระได้ ถ้าไม่ได้รับการฝึกหัดให้เป็นก่อนแล้วเมื่อบวชแล้ว จะไปมัวฝึกหัดเรื่องเหล่านี้อยู่ไม่ได้ เพราะเวลาที่จะต้องศึกษาให้รู้เรื่องของพระศาสนานั้นจำกัดอยู่มาก หากอยู่ได้นานก็ยังจะพอมีเวลาบ้าง หากอยู่ได้ไม่นานเป็นแต่บวชตามประเพณีชั่วคราวเท่านั้น ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้น อย่างน้อยก็เราจะต้องคิดว่าเป็นครั้งเดียวในชีวิต หรือคิดตามเป็นจริงก็ว่าเพียงสามเดือนสำหรับตลอดชีวิตซึ่งมีประมาณ ๖๐ ปีขึ้นไป เมื่อได้ฝึกหัดครบถ้วนแล้ว ผู้จัดบริขารควรจะปรึกษาพระเถระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก่อน เพื่อรู้ขนาดและปริมาณเท่าที่ถูกต้องและจำเป็นแก่ผู้บวช มิฉะนั้นก็เป็นโทษทางวินัย เมื่อถึงกำหนดแล้วก็ประกอบพิธีบวชตามวินัยนิยม ซึ่งพระเถระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์นั้นจะเป็นผู้อำนวยให้สำเร็จได้ตามต้องการ ฝ่ายผู้เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ก็ต้องเข้าอุปถัมภ์การนั้นอันเป็นหน้าที่ของคนตามควรแก่ฐานะ การบวชย่อมสำเร็จลงด้วยประการฉะนี้

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ประเพณีบวชนาคนี้ จัดเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทยชาวพุทธ ประเพณีนี้ย่อมได้รับการแก้ไขปรับปรุงมาโดยลำดับ ยังติดอยู่เป็นคู่สมของไทยชาวพุทธตลอดไป เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเราได้รับมาและตกทอดต่อไปอีกตามควรแก่กาลฉะนี้แล

สวัสดี