ประเพณีทอดผ้าป่า

ท่านคงจำได้ว่า เมื่อเราไปทอดกฐินตามวัดต่าง ๆ ร่วมกันกับพวกเราชาวพุทธแล้ว เราจะได้เห็นทอดผ้าป่าด้วย หรือบางครั้งเราก็ได้ช่วยกันจัดทอดเสียเองด้วย เป็นอย่างนี้ตลอดมาทุกปี และมีมากแห่งด้วยกัน ซึ่งบางแห่งถือเป็นประเพณีว่า เมื่อไปทอดกฐินแล้ว ต้องมีผ้าป่าด้วย โดยปกติทอดผ้าป่าเมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว เราก็ทอดผ้าป่าที่วัดซึ่งเราได้ทอดกฐินนั้นด้วย มากลับมาเราก็ทอดผ้าป่าตามวัดต่าง ๆ ตามที่เราผ่านมานั้นด้วย บางราย ทอดตั้งสิบวัดกว่าก็มี บางราย ก็จัดทำตามกำลังศรัทธาของคน แม้พระกฐินของหลวงที่เสด็จพระราชดำเนิน แต่ก่อนมาก็ยังเคยมีของกอง ซึ่งส่วนมากเป็นผลไม้ของสวนซึ่งมีความศรัทธานั้น ทำนองที่เคยเห็นก็ด้วย ๆ ของทอดผ้าป่านั้นเอง แต่จะกลายมาจากผ้าป่าหรืออย่างไรแน่ ก็หาเค้าเงื่อนยากเสียแล้ว ทั้งบัดนี้ก็ไม่เห็นมีแล้วด้วย การทอดผ้าป่านั้น ในบางถิ่นได้จัดทำเป็นพิเศษ ไม่ร่วมกับการทอดกฐินดังกล่าวข้างต้น จัดต่างหาก ทำนองเดียวกับกฐินทุกอย่าง และกลับจะมีเครื่องบริวารผ้าป่ามากเสียกว่า การกฐินด้วยซ้ำไป เพราะต้องทอดหลายวัด เมื่อจัดในเวลาพิเศษเช่นนั้น ก็มีการฉลองและสมโภชเป็นการใหญ่ เวลานำไปทอด ก็มีแห่โหมเป็นการครึกครื้น การทอดผ้าป่าไม่ได้กำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าต้องเมื่อนั้นเมื่อนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นอันว่าการทอดผ้าป่านั้น ทอดได้ตลอดปี จะทอดเมื่อไรก็ได้ แต่พวกเรามักทำกัน เรายังถือเอาการทอดผ้าป่านี้เป็นสามัคคี ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ เพื่อรวบรวมทุนทรัพย์สำหรับทำการก่อสร้างถาวรวัตถุของวัดนั้น ๆ หรือเนื้อสร้างครุภัณฑ์บางอย่างอันจำเป็นแก่วัดหรือแก่การงานนั้น ๆ อีกด้วย ทำนองเดียวกับกฐินสามัคคีดังกล่าวแล้วในเรื่องประเพณีทอดกฐินนั้นแล

ท่านผู้ทั้งหลาย ประเพณีทอดผ้าป่า มีเค้าเงื่อนอัน จะทึ้งถือเอาได้จากบางประเทศนั้น ๆ เช่นในคำว่า จีวรมัณฑกะ มหาวรรค พระวินัยปิฎก เล่าถึงเรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุรับ คหบดีจีวร คือผ้าที่ชาวบ้านถวายว่า แต่ก่อนนั้นคือในตอนปฐม โพธิกาล พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับคหบดี จีวร พระภิกษุทั้งหลาย นุ่งห่มได้แต่บังสุกุลจีวรเท่านั้น จะใช้ จีวรนอกจากนี้ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การแสวงหาผ้ามาเพื่อทำ จีวรของพระจึงมีความลำบากมาก ต้องเที่ยวหาผ้าที่เขาตัดเศษ ทิ้งไว้ตามกองขยะ หรือผ้าเก่า ๆ ที่คนทั้งหลายเขาไม่ใช้แล้ว เขาทิ้งไว้ตามกองขยะเหมือนกัน มิได้จากที่นั้น ต้องเที่ยวหา ผ้าที่เขาห่อศพมาทิ้งตามป่าช้าที่ยังมีศพ และการที่คนทั้งหลายจะ ใช้ผ้าห่อศพทิ้งนั้นก็ไม่ใช่มีบ่อยนัก เพราะศพที่ต้องถูกนำมาทิ้ง เช่นนั้นก็มักจะเป็นศพคนจน ๆ ซึ่งอย่าว่าถึงผ้าห่อศพเลย แม้มี ชีวิตอยู่ ก็หาใช้ นุ่งห่มเอง ก็ยากอยู่แล้ว ส่วนศพของผู้มั่งมีนั้น ก็ใช้วิธีเผากันทันทีภายหลังจากตายแล้ว การหาผ้าบังสุกุลที่ละ ชั้นสองชั้น กว่าจะทำเป็นจีวรได้นั้น ก็กินเวลานาน และจะเก็บไว้ ให้เกิน ๙ วันก็ไม่ได้ อย่างช้าต้องทำให้เสร็จภายใน ๙ วัน เกินนั้นใช้ไม่ได้ ต้องเสียสละผ้าที่ได้มานั้น โดยวิธีนี้ กว่าจะ ได้ผ้าทำจีวรแต่ละผืนนั้นต้องลำบากมาก และการตัดจีวรตลอด ถึงเย็บย้อม พระก็ต้องทำเองทั้งนั้น เพราะขนาดของจีวรแต่ ละผืนก็ดี การวัดผ้าที่จะประกอบเป็นจีวรของแต่ละผืนก็ดี มีจำ กัดขนาดและจำนวนไว้ ซึ่งในเวลานั้น คนทั้งหลายไม่ค่อยจะมี ส่วนรู้กับพระด้วยนัก นอกจากจะรู้กันเองในหมู่พระ แม้ใน หมู่พระเก่า ก็หาผู้ชำนาญในการนี้ได้ยากเหมือนกัน ในนิทาน ต้นบัญญัติพระวินัยอันเนื่องด้วยเรื่องนี้ พระพุทธเจ้า ได้ทรง สรรเสริญท่านพระอานนท์เถระไว้เป็นพิเศษว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้มีความชำนาญในการตัดเย็บจีวร ความจำเป็นหรือความ ยากลำบากในเรื่องนี้จึงมีมากในเวลานั้น แม้บริขาร ๘ ซึ่งจัด เป็นบริขารอันจำเป็นแก่พระภิกษุ โดยที่สุดแม้ผู้มีความมักน้อย ก็จำต้องมีนั้น คือด้ายกับเข็ม พร้อมทั้งกล่องใส่ ซึ่งเรายังต้อง ทำเป็นประจำในคราวบวชนาคจนกระทั่งบัดนี้ แต่ความรู้สึกใน นั้นเอง ถ้าเราย้อนหลังถึงครั้งเดิมเมื่อแรกทรงอนุญาต เรื่องนี้แล้ว โดยคำนึงถึงท้องถิ่นที่เป็นต้นเหตุของเรื่องนี้ด้วย แล้ว เราจะเห็นความจำเป็นและความยากลำบากมาก จริง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างพระต้องทำเองทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะไม่ ต้องทำ แต่เพราะเหตุที่ผู้บวชนั้นบวชด้วยความสมัครใจ และ มีความเต็มอกเต็มใจที่จะเป็นอย่างนั้น จึงอดทนได้ และไม่ถือ เอาความลำบากในเรื่องเพียงเล็กน้อยเท่านี้เป็นเครื่องขัดขวางการ ประพฤติพรหมจรรย์ของตน จึงสืบสายมาได้จนถึงพวกเราทุก วันนี้ ซึ่งจัดว่าเป็นลาภอันประเสริฐของพวกเราแล้ว

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เมื่อเราชาวพุทธซึ่งครองเรือนกันครั้งกระโน้น มองเห็นความลำบากของพระในเรื่องนี้และพิจารณาเห็นว่า ถ้าได้ช่วยพระให้หมดความยากความลำบากในเรื่องนี้แล้ว จะได้บุญได้กุศลมาก เมื่อพิจารณาเห็นเช่นนี้ จึงคิดหาโอกาสที่จะช่วยพระต่อไป ครั้นจะช่วยโดยตรง ก็ไม่ได้ เพราะถ้ามีผ้าจะเอาผ้าไปถวายท่าน ท่านก็ไม่รับ เมื่อช่วยตรงไม่ได้ก็ต้องคิดช่วยท่านโดยอ้อม ต้องคอยสังเกตดูว่า พระรูปไหนครองจีวรเก่ามากหรือขาดแล้วก็นึกเอาเองว่า ท่านคงต้องเปลี่ยนจีวรใหม่ ต้องคอยสังเกตดูว่า ท่านเดินผ่านไปมาทางไหนเป็นปกติ ในชั้นแรกก็เอาผ้าไปทิ้งไว้ในป่าช้าที่ฝังศพบ้าง เอาไปหมกไว้ตามกองขยะบ้าง ให้ชายผ้าโผล่อยู่เพียงเล็กน้อยเพื่อให้พระท่านเห็น หรือทิ้งไว้โดยเปิดเผย แต่ต้องทำวิธีการให้พระท่านเห็นว่า เจ้าของทิ้งแล้ว หรือของนั้นไม่มีเจ้าของแล้ว เมื่อพระท่านเห็นเช่นนั้น ท่านก็ถือเอาโดยปกาสุกรสัญญา ถ้าไม่ทำอย่างนี้ หรือทำให้ท่านรู้ว่าช่วยท่านโดยตรง ท่านก็รังเกียจไม่ยอมถือเอา ผู้คิดจะช่วยท่านต้องทำโดยละเมียดละไมที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ โดยกิริยาที่ต้องนำเอาผ้าไปทิ้งไว้ตามกองขยะหรือกิริยาที่ต้องนำเอาผ้าไปทิ้งไว้ในป่าช้าอย่างนี้ เราจึงเรียกกันว่าทอดผ้าป่า การทอดผ้าป่าเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ ต่อมามีผู้เห็นอย่างได้อย่างกัน และเห็นว่าทำอย่างนั้นพระท่านไม่รังเกียจ หวังจะช่วยพระบ้าง หวังจะได้บุญได้กุศลบ้าง จึงทำตามอย่างกันต่อๆ มา จึงกลายเป็นประเพณีขึ้น ประเพณีทอดผ้าป่าเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ ในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับคหบดีจีวร คือ จีวรของคฤหัส์ผู้ครองเรือน ดังกล่าวมาแล้ว

ในปกรณ์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องการหาโอกาสช่วยพระไว้มากเรื่องด้วยกัน เช่นเรื่องหนึ่งกล่าวว่า คราวหนึ่งท่านพระสารีบุตรมหาเถระ มีจีวรเก่าและขาด ปรารถนาจะเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เที่ยวแสวงหาผ้าอยู่หลายวันไม่ได้ผ้า ครั้งนั้นมีนางเทพธิดาตนหนึ่ง รู้ความต้องการของพระมหาเถระ ปรารถนาจะได้บุญจึงนำผ้าทิพย์ผืนหนึ่งยาวสิบสองศอก ไปหมกกองขยะไว้ข้างทางที่พระมหาเถระผ่านไปมา เมื่อพระเถระเดินผ่านมาทางนั้น ได้เห็นชายผ้าที่แลบออกมา จึงเข้าถือเอาโดยบังสุกุลสัญญา ดึงผ้าออกมาทั้งผืน เอามาทำจีวรครองได้เป็นอย่างดี อีกเรื่องหนึ่งคหบดีผู้หนึ่ง หวังจะช่วยพระหวังบุญกุศลด้วยวิธีอย่างนี้ จึงนำผ้าผืนหนึ่งมีประมาณพอจะทำเป็นจีวรครองได้ มิยังบ่าช้า เอาผ้าผืนนั้นห่อศพที่เขานำมาทิ้งไว้กำลังเน่าเฟะ พระผู้ต้องการจีวรรูปหนึ่งไปพบเข้า จึงถือเอาผ้าผืนนั้นด้วยบังสุกุลสัญญา นำผ้านั้นมาทำจีวรครองที่กำลังต้องการจะเปลี่ยน ก็สำเร็จประโยชน์ด้วยดี

ท่านผู้ทั้งหลาย ในระยะเวลาต่อมาประมาณราวมัชฌิมโพธิกาล คือประมาณเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และสั่งสอนประชาชนอยู่ได้สัก ๒๐ ปีที่ผ่านมาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ หมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินมคธ หมอชีวกคนนี้เป็นหมอมีชื่อเสียงมากในรัชสมัยของพระเจ้าพิมพิสารและสืบมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าอชาตศัตรู เป็นผู้มีทั้งความรู้และความชำนาญในทางอายุรกรรมและศัลยกรรมเป็นพิเศษ นอกจากหมอประจำพระองค์พระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์แล้ว หมอชีวกยังเป็นหมอประจำพระองค์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์พุทธสาวกอีกด้วย หมอชีวกมีความเลื่อมใสยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นแนวทางแห่งความประพฤติของตนในชีวิตประจำวัน ได้สร้างวัดให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์พุทธสาวก มีชื่อว่าวัดชีวกนาราม วันหนึ่งหมอชีวกเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ เห็นเป็นโอกาสจึงทูลขอพร เมื่อได้แล้วจึงทูลถึงความตั้งใจและความต้องการบุญกุศลของผู้มีความต้องการให้ทรงทราบ แล้วทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุรับคหบดีจีวรได้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว ทรงเห็นอานิสงส์ประโยชน์นั้น โปรดให้ประชุมสงฆ์ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับคหบดีจีวรได้ แต่ก็ยังทรงสรรเสริญภิกษุผู้ถือบังสุกุลจีวรเช่นเดิม ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งหลายก็ถือโอกาสถวายจีวรแก่พระได้โดยตรง พระทั้งหลายก็ได้รับความสะดวกมากขึ้นโดยลำดับมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย แม้ถึงพระท่านจะรับผ้าจีวรที่เราทั้งหลายถวายโดยตรงได้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีพระที่ต้องประสงค์จะทรงผ้าบังสุกุลจีวรอยู่ การทอดผ้าบังสุกุลก็ยังมีอยู่ และเมื่อเป็นประเพณีแล้วเราทั้งหลายก็ยังถือเป็นมรดกตกทอดกันมาโดยลำดับจนถึงพวกเราทุกวันนี้ การทอดผ้าบังสุกุลมีทั่วไปในหมู่คนที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกัน ว่าเฉพาะชนชาติไทยเราเท่าที่เราพอสืบได้ ก็มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของประเทศไทยเราแล้ว และมีทุกถิ่นในประเทศไทย ในบางถิ่นก็ทำอย่างวิจิตรตระการ เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งประเทศไทยเรามีผ้าอย่างหนึ่งเรียกว่าผ้าบังสุกุลรังผึ้ง โดยหลักใหญ่ของที่จะทำเป็นผ้าบังสุกุลนั้น มีผ้าขาวทั้งผืนเพื่อทำจีวรหรือผ้าจีวรสำเร็จรูปตัวเดียวหรือหลายตัว ไตรเดียวหรือหลายไตรก็ได้ นอกจากนี้ยังมีบริวารผ้าบังสุกุล เช่น ผลไม้ต่างชนิด หรือปัจจัย ๔ แต่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ทำเป็นชะลอม ถ้าทอดในป่าก็พาดทอดที่ต้นไม้ที่เดียว ถ้าไม่มีต้นไม้ก็มีถังไม้สำหรับทอดผ้าซึ่งแสดงว่าเป็นในบังสุกุล มากน้อยตามกำลังของผู้ทอดนำไปตั้งไว้ในบังสุกุลซึ่งคาดคะเนว่าจะมีพระผ่านมาในระยะใกล้ๆ นั้น หรือนำไปทอดไว้ที่วัด บางครั้งแสดงสัญญาพิเศษเพื่อให้พระทราบ ประเพณีนี้เราได้ยักย้ายถ่ายเทดัดแปลงแก้ไข เพื่อให้เหมาะแก่ท้องถิ่นมาโดยตำรับ และยิ่งกว่านั้นเราได้ถือเอาประโยชน์ของประเพณีในวงกว้างออกไปเช่นเดียวกับกฐินด้วยก็ยังมี เช่น ทอดผ้าบังสุกุลเพื่อสร้างวัด หรือเพื่อบำรุงการศึกษาการพยาบาลภิกษุสามเณรก็ยังมี แต่ถึงจะได้แก้ไขปรับปรุงอย่างใด เค้าเดิมอันเป็นหลักของประเพณีก็ยังคงอยู่ และการที่ได้แก้ไขปรับปรุงนั้นก็เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเพณีนั้นเอง ประเพณีทอดผ้าบังสุกุลนี้จึงนับเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทยชาวพุทธโดยทั่วไป

สวัสดี