ประเพณีทอดกฐิน
ท่านผู้ฟังทั้งหลาย
พอออกพรรษาแล้ว เราก็จะได้เห็นพวกเราชาวพุทธร่วม กายร่วมใจกันไปทอดกฐินตามวัดต่างๆ ใกล้บ้าง ไกลบ้าง ทั้ง พระเจ้าอยู่หัว และประชาชนชาวพุทธทั่วไป ถือเป็นโอกาสดี อย่างหนึ่งที่เราได้พากันบำเพ็ญกุศลส่วนพิเศษ เนื่องในการทอด
คำที่เรียกว่า กฐิน ที่เรารู้กันทั่วใบ ก็เป็นชื่อของผ้าที่ จัดทำพิเศษ เรียกว่าผ้ากฐิน เครื่องประกอบกับผ้าเรียกว่าเครื่อง กฐิน เมื่อนำไปถวายพระเรียกว่าแห่กฐิน พระผู้รับเรียกว่ารับกฐิน พระผู้รับทำวินัยกรรมใช้ผ้านี้เรียกว่านุ่งกฐิน พระผู้เป็นเจ้าการ ประกาศมอบผ้ากฐินเรียกว่าสวดกฐิน พระสงฆ์ผู้ได้รับกฐินแล้ว จากการถวายกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน พระสงฆ์ได้รับความ สะดวกเพราะทายกทายิกานำมาถวาย แสดงความพออกพอใจเรียก ว่าอนุโมทนากฐิน และเรียกอย่างอื่นอีกตามวาระแห่งจุลกรรมอันเนื่อง ในกฐินนี้ ที่จริงคำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สดึงสำหรับใช้ขึงผ้า เมื่อ เวลาจะเย็บผ้า ถือเอากิริยาที่พระต้องทำอย่างนั้น กับผ้าที่ได้เมื่อ ออกพรรษาแล้วอย่างนั้นเป็นเดิม จึงเรียกว่ากฐิน กฐินนี้เป็นพระ พุทธานุญาตพิเศษมีได้เฉพาะการ คือจำกัดเวลาไว้ พ้นเวลาแล้ว แม้ถวายอย่างเดียวกันก็ไม่เรียกว่ากฐิน วินัยกรรมอันเนื่องด้วย กฐินนี้ มีต้นเหตุดังนี้
ในคัมภีรกฐินขันธกะ มหาวรรค พระวินัยปิฎกพระคัมภีร์ นาจารย์เล่าเรื่องไว้ว่า ครั้งหนึ่ง มีภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ถือธุดงค์วัตรอย่างอุกฤษฎ์ มีความประสงค์จะเฝ้าพระ พุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน พระนครสาวัตถี แคว้น โกศล ตกลงพร้อมกันแล้ว จึงชวนกันออกเดินทางมาโดยรีบด่วน พอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระหว่างทาง ซึ่งอยู่ห่างเมืองสาวัตถีประ มาณ ๖ โยชน์ หรือประมาณ ๙๖ กิโลเมตรตามมาตราวัดปัจจุบัน พอดีถึงวันเข้าพรรษา ภิกษุเหล่านั้น จะเดินต่อไปอีกไม่ได้ จำเป็น จำใจต้องจำพรรษาอยู่นั้น มีความร้อนกระวนกระวายกระสับ กระส่ายยิ่งนัก อยากจะเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง พอออกพรรษา ปวารณาแล้วตามวินัยนิยม ต่างกันได้รอรังช่วยกันเก็บกวาดจัด อาสน และเครื่องใช้ของสงฆ์เรียบร้อย แล้วพากันออก เดินทางจากเมืองสาเกต เวลานั้นฝนยังตกหนักอยู่ ภูมิภาคยัง ชุ่มน้ำ ทางเดินยังเป็นหล่มเป็นโคลนเละแฉะเปรอะเปื้อน เดิน ทางทุลักทุเล เมื่อล่วงมาจนถึงกรุงสาวัตถี ได้โอกาสก็พากันเข้า เฝ้าพระพุทธเจ้า โดยจุใจ พระพุทธองค์ทรงปฏิสันถารด้วย ถาม ถึงการอยู่จำพรรษาและการเดินทาง ว่ามีความสะดวกสบาย เพียงไรตามพระพุทธจรรยาแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นได้ ช่องจึงกราบทูลถึงความตั้งใจของท่านที่ได้รับร้อนรนบุกบั่นมาเฝ้าให้ ทรงทราบทุกประการ พระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตราก ตรำมากของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น จึงทรงยกเป็นเหตุมีพระ พุทธานุญาตให้ภิกษุสงฆ์บริษัทกรานกฐิน และโปรดให้ทำเป็นการ สงฆ์เรียกว่าสงฆ์กรรม ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ รวมเวลา ๒๙ วัน โดยมีหลักเกณฑ์ว่า ภิกษุผู้จะได้กรานกฐินนั้น ต้องได้จำ พรรษาครบสามเดือนไม่ขาดเลย ในวัดเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป กรานกฐินนั้น คือเมื่อมีผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในกรณีเช่นนั้น พอจะทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ สงฆ์พร้อมกันยกผ้านั้นให้ภิกษุ รูปใดรูปหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่การกฐิน ภิกษุผู้ได้รับผ้านั้นเอา ไปทำจีวรผืนใดผืนหนึ่งให้แล้วเสร็จในวันนั้น แล้วกลับมาบอกแก่ สงฆ์ผู้ให้ผ้าผืนนั้นเพื่ออนุโมทนา ภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว นี้ เรียกว่าสงฆ์กรานกฐิน ต้นเหตุแห่งกฐินย่อมมีมาด้วยประการดังนี้
ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ผ้าที่จะทำเป็นผ้ากฐินได้นั้นก็คือผ้าขาวธรรมดา หรือผ้าย้อมน้ำฝาดนี้เอง แต่ต้องจะเป็นผ้าพิเศษ คือต้องเกิดขึ้นในการกำหนดต้องถวายในสงฆ์ และต้องจำนงเพื่อกรานกฐิน ผ้านั้นเป็นผ้าใหม่ก็ได้ เป็นผ้าเก่าก็ได้ เป็นผ้าเทียมใหม่ก็ได้ เป็นผ้าบังสุกุลก็ได้ เป็นผ้าที่เราเก็บจากกองขยะก็ได้ แต่ผ้าดังกล่าวนั้นจะต้องมีประมาณพอจะทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ ผ้าที่เป็นองค์กฐินนั้นจะใช้ผ้าผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวทั้งผืนก็ได้ ตัดออกเป็นชิ้นตามแบบจีวรพอจะประกอบเข้าเป็นจีวรก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมก็ได้ ย้อมเสร็จแล้วก็ได้ ถ้ามีผ้ามากกว่านั้น หรือมีของอื่นอีกเรียกว่า บริวารกฐิน ท่านก็ไม่ห้ามเหมือนกัน บริวารกฐินนั้นน้อยก็ได้ มากก็ได้ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ถ้าถวายมากก็ได้บุญมาก ตามแต่กำลังศรัทธาของผู้ถวาย บริวารกฐินตามที่นิยมกันนั้นกำหนดด้วยปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นเครื่องอาศัยอันจำเป็นของภิกษุ สามเณร ในวัดที่ตั้งลงเป็นที่ท่านเพิ่มเครื่องซ่อมแซมเสนาสนะของสงฆ์ เช่น ขวาน เลื่อย กบ สิ่ว และจอบเสียมเป็นต้น
แต่เดี๋ยวนี้ผู้ทอดกฐินตามวัดต่าง ๆ มักรวบรวมกันเป็น สามัคคี เรียกว่ากฐินสามัคคี บอกบุญรวมทุนกันเป็นจำนวนมาก มาย มอบถวายเป็นสงฆ์จำนงค์เพื่อซ่อมเสนาสนะ เช่น โบสถ์ ศาลา หรือจำนงค์เพื่อสร้าง เช่น โรงเรียนอันเป็นสถานศึกษา หรือจำนงค์เพื่อทำถนนระหว่างหมู่บ้านก็มี หรือเพื่อขุดสระทำสะพาน ขุดคลอง ตามความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ ก็มี วิธีนี้ก็เป็น ประโยชน์ดีอยู่อย่างหนึ่ง มิถาวรวัตถุเกิดขึ้นเนื่องด้วยการ กฐินนี้มากอยู่เหมือนกัน ถ้าหากว่าไม่เอาบาปเข้ามาปนได้แล้วก็ ยิ่งมากกว่าเท่าที่เป็นอยู่อีก นอกจากบริวารกฐินดังกล่าวแล้ว บางแห่งผู้เป็นเจ้าการยังต้องมีของแจกแก่คนวัด และคนที่มาร่วม งานกันอีกตามควร ยังมีธรรมเนียมอีกว่า ต้องมีผ้าห่มพระ ประธานผืนหนึ่ง หรือหลายผืนด้วย เพื่อห่มพระประธาน และ เทียนขนาดพอเหมาะสำหรับพระจุดในเวลาสวดปาฏิโมกข์ เรียกว่าเทียนปาฏิโมกข์อีก ๒๕ เล่ม ต้องมีธงผ้าขาวล้วน หรือ เขียนรูปสัตว์มีจระเข้ หรือคชราชสำหรับปักหน้าจัด เป็นเครื่อง หมายบอกให้คนทั้งหลายรู้ว่าทอดแล้ว เนื่องในการทอดกฐินนี้ มักมีนิยมว่าต้องนำผ้าป่าไปทอดตามวัดต่าง ๆ ที่ผ่านไปด้วย กฐิน ตามปกติทั่วไปนั้น เป็นกฐินสำเร็จรูป เรียกกันว่ากฐินหรือ มหากฐินก็เรียก
ยังมีกฐินอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐิน ซึ่งในบางถิ่น เรียกว่าจุลกฐิน กฐินประเภทนี้เริ่มต้นแค่สมาคมปลูกฝ้าย คือ เอาฝ้ายสุทธิ์ทั้งเมล็ดมาเก็บเนื้อฝ้าย แต่ยังเป็นปุยคิดเม็ด จนกระ ทั่งทอเป็นผ้าทำเป็นจีวร เย็บย้อมเสร็จในวันนั้น การทอดกฐิน บัดนี้มีธรรมเนียมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่าจองกฐิน หมายความว่าต้อง แสดงความจำนงก่อน มิฉะนั้นจะไม่มีโอกาสได้ทำบุญประเภทนี้ เพราะวัดมีน้อย ผู้ปรารถนาบุญมีมาก วัดเกียวทอดได้ครั้งเดียวใน ปีหนึ่ง เวลาที่ทอดก็จำกัดไว้ จึงเกิดมีธรรมเนียมกันขึ้น แต่ ถึงดังนั้น ก็ยังมีบางวัดที่ไม่มีคนจองเหมือนกัน ลักษณะเช่นนั้น เรียกกันว่ากฐินตก ด้วยเหตุนั้น มีผู้ศรัทธาบางคนไม่ยอมใช้วิธี จอง คอยรอเมื่อถึงการกำหนดแล้ว เที่ยวหาวัดที่มีกฐินตก บาง คนทอดเสียหลายวัดก็มี เมื่อมีผู้ปรารถนาบุญมากด้วยกัน ใช้ วิธีร่วมกันเป็นสามัคคีเป็นส่วนมาก เพราะชื่อว่าได้ทอด หรือได้ บุญกฐินโดยทั่วถึงกัน
การทอดกฐินนั้น เมื่อถึงกำหนดแล้ว เตรียมเครื่องกฐินครบแล้ว นำไปยังวัดที่กำหนดไว้ เมื่อถึงแล้วจัดตั้งไว้ยังสถานที่ซึ่งควรแก่พิธีนั้น บนศาลา หรือในโบสถ์ หรือในที่ซึ่งจัดพิเศษตามสะดวก เมื่อพระสงฆ์ประชุมกันแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้เป็นเจ้าการนั้น นมัสการพระรัตนตรัย แล้วชักชวนผู้ไปร่วมการกุศลถวายพร้อมกัน ด้วยกล่าวคำถวายเป็นภาษาบาลี หรือคำไทยตามถนัด เมื่อพระสงฆ์รับแล้ว ผ้าที่จำนงเพื่อกฐินนั้นจะประเคนก็ได้ จะทอดไว้ในท่ามกลางสงฆ์ก็ได้ แต่ถ้าจะประเคน ต้องประเคนพระที่คิดว่าไม่ใช่องค์ครอง ตามปกติมักประเคนรูปที่สองในลำดับแถวรองจากสมภารลงมา เพราะตามปกติท่านสมภารต้องเป็นองค์กรอง เว้นแต่ในบางกรณีเท่านั้น ของบริวารส่วนที่จำนงเป็นการสงฆ์ ก็แจ้งความจำนงให้สงฆ์รู้ ส่วนที่จำนงเฉพาะพระเณรแต่ละรูป ก็ถวายเป็นรายรูปหรือมอบถวายเพื่อแจกก็ได้ เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาพึงตั้งใจฟังด้วยดี เป็นเสร็จพิธีทอดกฐินด้วยประการฉะนี้
ท่านผู้นั่งทั้งหลาย กฐินนั้นแต่เดิมมาเป็นกิจของพระโดยเฉพาะ เพราะแต่เดิมก่อนพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตกฐินนั้น ตามปกติเมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระท่านต้องจาริกไปในที่ต่าง ๆ ในการไปนั้นต้องเอาผ้าไตรไปครบ จะทิ้งไว้ไม่ได้ แต่เวลาที่ฝนยังไม่หมดฤดูนั้นดินก็เป็นหล่มเป็นโคลน เมื่อต้องนำไปเช่นนั้นก็ไม่สะดวก ดังเรื่องที่เป็นต้นเหตุเมื่อโปรดให้กรานกฐิน ก็คือให้เตรียมการก่อนเดินทางเดือนหนึ่ง ในการเตรียมที่จำเป็น ก็คือต้องเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่ม เพราะผ้านุ่งห่มของพระนั้นมีประจำได้สำรับเดียว เมื่อใช้มาปีหนึ่งแล้วก็ต้องเปลี่ยนครั้งหนึ่ง ในเดือนท้ายฤดูฝน จึงเป็นเดือนทำจีวร ในระหว่างนั้นทรงอนุญาตให้ไปได้ตามสะดวก ไม่ต้องเอาผ้าไปครบไตรก็ได้ แต่ถ้าได้ทำจีวรเสร็จแล้ว สิทธินั้นย่อมระงับลงทันที ไปไหนต้องนำไปครบไตร แต่เดิมมาการหาผ้ามาทำจีวรก็ไม่ง่ายนัก เมื่อชาวบ้านรู้ความประสงค์ของพระ ปรารถนาจะร่วมกับพระและหวังในบุญกุศล จึงอาสาเข้าขอมีส่วนช่วยจัดผ้าให้ ช่วยจัดทำให้ ช่วยทำทุกอย่าง จนพระเกือบไม่ต้องทำ พระคงเหลือหน้าที่เป็นผู้บงการ เมื่อชาวบ้านเข้าช่วยกันจนเต็มไม้เต็มมือ ครั้นมาก็ได้ทำกันเป็นประเพณีและคิดมาจนทุกวันนี้ ทั้งทำกันสนุกสนานเป็นสาธุกิพนักษัตร
ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ชาวไทยเราตั้งแต่พระเจ้าอยู่หัวสงมา ถึง ประชาชน พลเมือง ของพระองค์ ได้ถือ การทอดกฐิน เป็น ประเพณีมาตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย ยังเป็น ราชธานี ของประเทศแล้ว และทำกันตลอดมาจนถึงบัดนี้ ประเพณีทอดกฐินเป็นประเพณี ประจำชาติ เราไปทอดกฐินเราจะได้เห็นระเบียบการประหยัด ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้เป็นอย่างดี และได้เห็นความสามัคคี ของพระและของทายกทายิกา บัดนี้เวลาเช่นนั้นได้มาถึงเราแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าท่านทั้งหลายคงได้เตรียมแล้วเช่นเคย เตรียมเพื่อ ดำเนินตามประเพณีอันเป็นมรดกที่ตกทอดมาถึงเรา และจะเป็น มรดกสืบไปภายหน้าอีกด้วยฉะนี้แล
สวัสดี