การศึกษาสารตัวเติมและประสิทธิภาพการดูดซับคราบน้ำมันของยางฟองน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นัสมี วาเงาะ, ซูลฟา สือรี, นูรอัยมีย์ ดือเระ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นูรฮูดา นิเส็น

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

สารตัวเติม เช่น เขม่าดำ ซิลิกา และแคลเซียมคาร์บอเนต เป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญในการทำผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ เช่น ยางล้อรถ ยางในทางวิศวกรรม อุปกรณ์กีฬา ฯลฯ เนื่องจากช่วยปรับปรุงสมบัติด้านความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ ยางฟองน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ยางชนิดหนึ่งมีสารตัวเติมเป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเตรียมได้จากน้ำยางธรรมชาติ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับยางธรรมชาติ และยังช่วยให้มีการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงได้ศึกษาชนิดและอัตราส่วนของสารตัวเติมที่เหมาะสม เพื่อได้ผลิตภัณฑ์ยางฟองน้ำที่มีคุณภาพดีตามต้องการและมีต้นทุนการผลิตเหมาะสมสามารถแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจได้ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นสารตัวเติมที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมยางเนื่องจากมีราคาค่อนข้างถูกและช่วยให้สมบัติจองผลิตภัณฑ์ที่ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับคราบน้ำมันของฟองน้ำจากไคโตซาน โครงงานนี้ดำเนินการโดยใช้น้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียสูงและสารตัวเติม 75% แคลเซียมคาร์บอเนตในปริมาณ 4 และ 8 phr สำหรับกระบวนการเตรียมยางฟองน้ำใช้วิธีการเตรียมแบบดันลอป หลังการเติม k-oleate ผลที่ได้คือผิวหน้าของยางฟองน้ำที่ได้จะมีลักษณะเรียบเนียนและค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยยางฟองน้ำที่เติมแคลเซียมคาร์บอเนต 8 phr จะมีคุณสมบัติแข็งและความทนต่อแรงกดดีกว่ายางฟองน้ำที่เติมแคลเซียมคาร์บอเนต 4 phr ส่วนการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันพบว่าไคโตซานสามารถดูดซับน้ำมันได้