ถ่านกัมมันต์จากส่วนต่างๆของตาลโตนด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
โศรดา พรหมอินทร์, ศศิธร ทิพย์มณี, ปิยพัทธ์ ศรีสวัสดิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริมนต์ ประดับ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดช่วยชะลอการสุกของผลไม้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเปรียบเทียบมวลถ่านจากส่วนต่างๆของตาลโตนดที่เผาถ่านแบบระบบปิด เพื่อนำผงถ่านจากส่วนต่างของตาลโตนดมาทดสอบการดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบ เพื่อนำถ่านจากส่วนต่างๆของตาลโตนดมากลับคุณภาพเป็นถ่านกัมมันต์ นำผงถ่านกัมมันต์จากส่วนต่างของตาลโตนดมาทดสอบการดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบ เพื่อนำถ่านกัมมันต์จากส่วนต่างๆของตาลโตนดทดสอบการดูดกลิ่นแก๊สแอมโมเนียเพื่อนำถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดที่ผ่านการทดสอบแล้วไปใช้ประโยชน์ช่วยชะลอการสุกของ กล้วยหอมทองและผลละมุด
ผลการศีกษาพบว่า เมล็ดตาลโตนดสุกเมื่อนำมาเผาแบบระบบปิดจะได้มวลถ่านมากที่สุดคิดเป็น45% ลักษณะเนื้อสีดำสนิทกรอบแข็งมาก โดยถ่านจากส่วนต่างๆของตาลโตนดที่ผ่านการเผาแบบระบบปิดเมื่อนำมาบดให้ละเอียดและทดลองใช้ดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบพบว่าดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบไม่ได้สีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบยังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง หากต้องการนำถ่านจากส่วนต่างๆของตาลโตนดไปใช้ประโยชน์ต้องปรับปรุงคุณภาพเป็นถ่านกัมมันต์ พบว่าจะได้มวลถ่านลดลงเล็กน้อย และถ่านจากเมล็ดตาลโตนดจะได้มวลมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 44 เมื่อนำมาทดลองใช้ดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบพบว่าดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบได้ดีโดยถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดดูดสีและกลิ่นน้ำตาลทรายดิบได้ดีที่สุดใกล้เคียงกับผงถ่านกระดูกสัตว์ที่ขายในท้องตลาด จากการทดลองนำถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดและกระดูกสัตว์มาทดสอบดูดกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย พบว่า ค่า pHของของสารละลายแอมโมเนีย ลดลงได้ดีกว่าชุดที่ไม่ได้ผ่านการดูดซับด้วยผงถ่านกัมมันต์ และดูดซับก๊าซแอมโมเนียได้ดีโดยผงถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลสุกสามารถดูดซับกลิ่นก๊าซแอมโมเนียได้ดีพอๆกับ ผงถ่านกัมมันต์จากกระดูกสัตว์ จึงได้ทดลองนำถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดมาใส่กระดาษสำหรับห่อกล้วยหอมทองและละมุดเปรียบเทียบกับที่ไม่ได้หอกระดาษ และที่ห่อด้วยกระดาษที่ไม่มีถ่านกัมมันต์ เมื่อตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง พบว่ากล้วยหอมทองและผลละมุดจะสุกช้ากว่ากำหนด ประมาณ 2 วัน แสดงว่าถ่านกัมมันต์จากเมล็ดตาลโตนดช่วยชะลอการสุกของกล้วยหอมทองและผลละมุดได้ดีพอๆกับผงถ่านกระดูกสัตว์ เนื่องจากการปรับปรุงคุณภาพเป็นถ่านกัมมันต์ทำให้มันมีรูเล็กๆ (microporosity) จำนวนมาก และสามารถเพิ่มพลังการดูดซับหรืออำนาจในการดูดซึมสูง เพราะมีรูพรุนขนาดต่างๆ เป็นจำนวนมากตามพื้นผิว และมีอิเล็กตรอนอิสระอยู่บนผิวและรูพรุนเหล่านั้น จึงดูดซับแก๊สต่างๆได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก๊สเอธิลีนที่ถูกปล่อยออกมาในขณะที่ผลไม้กำลังสุกหากมีแก๊สเอธิลีนมากผลไม้จะสุกได้เร็ว เป็นการคิดหาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นซึ่งไม่มีคุณค่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่าโดยนำเมล็ดตาลโตนดมาผลิตเป็นถ่านกัมมันต์เพื่อชะลอการสุกของผลไม้ขณะขนส่งทำให้ผลไม้ไม่สุกเร็วเกินไป ช่วยให้ผู้ประกอบการไม่ขาดทุนจากการเน่าเปื่อยของผลไม้ที่สุกงอมเกินควรไม่น่ารับประทานฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน รู้จักนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรียนรู้ในชั้นเรียนมาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ ต่อชุมชน