ถุงเพาะชำรียูสจากถุงชาที่ใช้แล้วเคลือบด้วยเจลาตินจากเกล็ดปลา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วชิรวิทย์ ชำนาญวงศ์, ชาญวิทย์ รัตนสุวรรณ์, กิตติธัช นิลสุวรรณ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยศวดี ศศิธร, มนทิชา บัววรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ถุงเพาะชำรียูสจากถุงชาเย็นที่ใช้แล้วเคลือบด้วยเจลาตินจากเกล็ดปลา มีวัตถุประสงค์การทดลองดังนี้ เพื่อศึกษาชนิดของเกล็ดปลาที่เหมาะสมต่อการนำมาสกัดสาร
เจลาตินสำหรับใช้เคลือบกระดาษจากถุงชาเย็นที่ใช้แล้วทำถุงเพาะชำกล้าไม้ที่มีคุณภาพใช้งานได้ดี เพื่อศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการนำมาผสมกับเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงสำหรับใช้เคลือบกระดาษถุงชาเย็นที่ใช้แล้วทำถุงเพาะชำกล้าไม้ที่มีคุณภาพการใช้งานได้ดี เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของ
เมทานอลต่อเจลลาตินสำหรับใช้เคลือบกระดาษจากถุงชาเย็นที่ใช้แล้วทำถุงเพาะชำกล้าไม้ที่มีคุณภาพการใช้งานได้ดี เพื่อศึกษาการเพิ่มจำนวนแผ่นกระดาษ / ถุง ที่เหมาะสมต่อการทำถุงเพาะชำกล้าไม้เคลือบด้วยสารเจลาตินที่มีคุณภาพใช้งานได้ดี เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของกล้าไม้ต่างๆ ที่ปลูกในถุงเพาะชำกล้าไม้จากกระดาษถุงชาเย็นที่ใช้แล้วเคลือบด้วยสารเจลาติน เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่ปลูกแบบไม่เอาถุงเพาะชำและเอาถุงเพาะชำออก เพื่อศึกษาอายุการย่อยสลายหมดของถุงเพาะชำกล้าไม้ที่ฝังดิน
ผลการศึกษาพบว่า เกล็ดปลากะพง สามารถนำ มาสกัดสารเจลาตินโดยวิธีการทางเคมี ได้เจลาตินมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 8.87 สารที่ได้มีสีเหลืองอ่อนอมน้ำตาลลักษณะเหนียวหนืด ค่า pH 7.8-7.4 น้ำเป็นตัวทำละลายเจลาตินได้ดีที่สุด โดยอัตราส่วนเจลาตินจากเกล็ดปลากะพง : น้ำ 20 g / 300 cm3มีความเหมาะสม ในการนำไปเคลือบกระดาษได้ดีมาก และจำนวนแผ่นกระดาษ / ถุง ซ้อนกัน 2 แผ่น/ถุง และ 3 แผ่น/ถุง เหมาะสมในการทำถุงเพาะชำกล้าไม้มากที่สุด เมื่อนำไปเคลือบกระดาษๆ จะติดสารเจลาตินได้ดีมาก กระดาษแข็งและหนามาก สามารถรับน้ำหนักหรือต้านต่อแรงดึงได้ดีมากขึ้น ค่าความเค้น (Street) สูง ทั้งก่อนและหลังเปียกน้ำ ถุงเพาะชำกล้าไม้ที่เคลือบเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงเมื่อปลูกต้นพริกขี้หนูมะละกอ และต้นมะเขือและรดน้ำทุกวัน ต้นกล้าทุกชนิดจะเจริญเติบโตตามปกติ มีการเพิ่มจำนวนใบ ลำต้นสูงขึ้น ใบเขียวอวบสวยมาก การปลูกแบบไม่เอาถุงเพาะชำออกต้นกล้าจะโตเร็ว การย่อยสลายของถุงเพาะชำกล้าไม้ที่ฝังดิน จะย่อยสลายหมดในเวลา 100 – 120 วัน เป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถผลิตถุงเพาะชำกล้าไม้ไว้ใช้เอง ลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากการเผากระดาษ การทิ้งกระดาษที่ทำลายทัศนียภาพ ลดการทิ้งเกล็ดปลาที่จะส่งกลิ่นเหม็นให้แมลงวันมาตอมและอาจเป็นพาหะนำโรคได้ นอกจากนี้ยังได้บูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ที่เรียนในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน