การสังเคราะห์ปุ๋ยนาโนโพเเทสเซียมซิลิเกตจากเถ้าเเกลบเทาที่มีความสามารถเพิ่มความเเข็งเเรงของผนังเซลล์พืชในการทนทานศัตรูพืช

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัญยธรณ์ เล้าชัยวัฒน์, จิรายุ สกุณี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศศิประภา เอี่ยมภูมิ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัญหาศัตรูพืชเป็นปัญหาเกษตรที่สำคัญ จากสถิติพบว่ามีผลผลิตที่เสียหายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การกำจัดศัตรูพืชมีหลายวิธี ได้เเก่ วิธีทางเขตกรรม วิธีทางกายภาพ วิธีทางชีวภาพ เเละวิธีทางเคมี โดยการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีทางเคมี เป็นวิธีการที่เกษตรกรเลือกใช้มากที่สุด จากสถิติในปี พ.ศ. 2565 พบว่ามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวน 3 ล้านตัน เนื่องจากสามารถกำจัดศัตรูพืชได้อย่างรวดเร็ว เเต่สารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม พิษจากสารเคมีส่งผลกลับเป็นศัตรูพืชประเภทโรคพืชจากสิ่งไม่มีชีวิต อย่างไรก็ตามศัตรูพืชชนิดพิษจากสารเคมี วิธีทางเขตกรรม วิธีทางกายภาพ เเละวิธีชีวภาพไม่สามารถควบคุมได้ จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทีมผู้พัฒนาจึงสนใจที่จะพัฒนาวิธีการกำจัดศัตรูพืชชนิดพิษจากสารเคมี โดยการสังเคราะห์ปุ๋ยนาโนโพเเทสเซียมซิลิเกตจากเถ้าเเกลบเทาเพื่อเพิ่มความเเข็งเเรงของผนังเซลล์พืชในการทนทานศัตรูพืช

จากการศึกษาพบว่า ปุ๋ยนาโนโพเเทสเซียมซิลิเกตจากเถ้าเเกลบเทา มีประสิทธิภาพในการกันศัตรูพืชชนิดพิษจากสารเคมีไม่ให้เข้าในผนังเซลล์พืชได้ โดยจากข้อมูลที่ตรวจสอบด้วยเครื่อง Micro-XRF Bruker รุ่น M4 Tornado พิจารณาได้ว่าสารเคมีที่เป็นพิษไม่สามารถเข้าไปในผนังเซลล์ได้ เนื่องจากปุ๋ยนาโนโพเเทสเซียมซิลิเกตจากเถ้าเเกลบเทามีกระบวนการสร้างผลึกซิลิก้าที่ผนังเซลล์พืชเป็นผนังเซลล์กำพร้าครอบคลุมอีกชั้นจากผนังเซลล์พืชปกติ เเละยังมีความสามารถเป็นปุ๋ยขนาดอนุภาคนาโนโดยได้การยอมรับเป็นขนาดอนุภาคที่พืชสามารถดูดซึมสารอาหารมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีโครงสร้างสารซิลิเกตที่ในรูปโครงสร้างกรดซิลิซิกทำให้พืชนำไปใช้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญในปกติพืชจะมีสารซิลิเกตปริมาณน้อย ส่งผลให้พืชได้รับธาตุอาหารสำคัญในปริมาณเพิ่มขึ้น อีกทั้งนำเถ้าเเกลบเทาที่เป็นของเหลือทิ้งทางเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด