การศึกษาวัสดุเพาะ การให้น้ำ และการพรางแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขวัญข้าว วิจิตรจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วีระพงษ์ ศรีโยธี, พัชรินทร์ เหมี่ยงสันเทียะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การศึกษาวัสดุเพาะการให้น้ำและการพรางแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีน จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาวัสดุเพาะ ความถี่ในการให้น้ำ และการพรางแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีน ได้แก่ ผักกาดเขียว ผักปลัง และผักบุ้ง ในการศึกษาได้นำไปปลูกในวัสดุเพาะ 3 ชนิดได้แก่ ดิน : ขุยมะพร้าว , ดิน : กากตะกอนหม้อกรอง , ดิน : ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อศึกษาวัสดุเพาะที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตของผักแต่ละชนิด พบว่า วัสดุเพาะ ดิน : ขุยพระพร้าว เหมาะสำหรับการปลูกผักกาดเขียว วัสดุเพาะ ดิน : กากตะกอนหม้อกรอง เหมาะสำหรับการปลูกผักปลัง วัสดุเพาะ ดิน : ปุ๋ยอินทรีย์ เหมาะสำหรับการปลูกผักบุ้ง ในการศึกษาความถี่ในการให้น้ำ พบว่า ผักทั้ง 3 ชนิด เจริญเติบโตได้ดีในช่วงเวลาที่ให้น้ำ 2 ช่วงเวลาคือ ช่วงเช้า 07:00 น. และช่วงเย็น 17:00 น. และการศึกษาการพรางแสง พบว่า

ผักกาดเขียวและผักบุ้งเหมาะสำหรับการเจริญเติบในการพรางแสง 1 ชั้นมากที่สุด ผักปลังเหมาะสำหรับการพรางแสง 2 ชั้นมากที่สุด ผลการศึกษานี้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อให้ทราบ วัสดุเพาะ ความถี่ในการให้น้ำ และการพรางแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักไมโครกรีน