การหาตำแหน่งของจุดเริ่มต้นที่น้อยที่สุดที่สามารถกระจายเต็มตาราง n x (n+1)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณิชาภัทร สัจจัง, นันทิดา สินพิชิต, พัชรพรรณ พัฒนาภา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุเทพ ผานัด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ล้วนมีคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องเสมอ เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการออกแบบและสร้างอาคาร การซื้อขายสินค้าและบริการ การสื่อสาร และการแพทย์ เป็นต้น โดยการนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์นั้นสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี เช่น การนำความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนและยกกำลังไปใช้ในการหาดัชนีมวลกายของคน หรือ การวิเคราะห์การแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยใช้ cellular automata โดยโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนจุดและตำแหน่งเริ่มต้นที่น้อยที่สุดที่สามรถกระจายเต็มตาราง n x (n+1) ที่จะทำให้สามารถออกแบบมาตรการควบคุม รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือในการศึกษาและทำนายการระบาดในอนาคต และนำไปประยุกต์สร้างเป็นเกมที่ช่วยฝึกและพัฒนาทักษะในการคิด โดยทำการสร้างตารางขนาด n x (n+1) แล้วจำลองจุดเริ่มต้นบนตาราง หาจำนวนจุดเริ่มต้นที่น้อยที่สุด โดยจุดจะเริ่มกระจายได้ก็ต่อเมื่อมีจุดข้างเคียงอย่างน้อยสองจุดที่อยู่เยื้องกันตามหลักทฤษฎี cellular automata แล้วสังเกตและหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างจำนวนจุดเริ่มต้นที่น้อยที่สุดกับขนาดตาราง