การผลิตฟิล์มคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากเปลือกและใบสับปะรดและคุณสมบัติเชิงกลของฟิล์ม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พชรพนธ์ พรหมวงศ์, ณัฐวุฒิ ใจวงศ์, ณัฐชานันท์ ทะอินทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เอนก ไชยบุตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการโครงงานนี้คือ ศึกษากระบวนการผลิตฟิล์มคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากเปลือกและใบสับปะรด ขั้นแรกการสกัดเซลลูโลส โดยนำเศษเหลือสับปะรดจากแหล่งผลิตแล้วนำมาแยกเปลือกและใบ จากนั้นนำไปล้าง สับให้มีขนาดเล็กแล้วอบแห้งที่ 80±5°C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ในตู้อบลมร้อน เตรียมเยื่อจากเปลือกและใบสับปะรด 2 วิธี วิธีที่ 1 นำผงเปลือก และใบสับปะรดมาต้มที่อุณหภูมิ 70◦C ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นต่างๆ (30, 40, 50% w/v) เป็นเวลา 1, 12, 24 ชั่วโมง จากนั้นกรองแล้วล้างเยื่อ ด้วยน้ำสะอาด จนมีค่า pH อยู่ในช่วง 7-7.5 จึงนำไปอบแห้งที่ 80◦C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง วิธีที่ 2 นำผงเปลือกและเนื้อสับปะรดมาเติมด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 30% แล้วต้มใน หม้อแรงดันที่ 120◦C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นกรองแล้วล้างเยื่อด้วยน้ำสะอาด จนมีค่า pH อยู่ในช่วง 77.5 จึงนำไปอบแห้งที่ 80◦C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง สรุปและบันทึกผลประสิทธิภาพในการสกัดเซลลูโลส ขั้นที่สอง การสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลส 1. นำเยื่อจากเปลือก และใบสับปะรดมาทำปฏิกิริยากับกรดคลอโรอะซิติก (6 g / 5 g cellulose) ภายใต้สภาวะด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์) ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ (20, 30, 40 %) ที่ อุณหภูมิ 50, 60, 70°C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง 2. ล้าง CMC ที่ได้แล้วอบแห้ง ชั่งน้ำหนักหา % ผลผลิตที่ได้ สรุปและวิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลองเบื้องต้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้ก็คือ ได้พลาสติกชีวภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดนวัตกรรมในอนาคตได้, ได้ทราบถึงของดีของเสียของพลาสติกชีวภาพที่ทำขึ้น และได้ทราบสมบัติเชิงกลของพลาสติกชีวภาพ และทำให้สามารถลดปริมาณขยะจากกระบวนการเกษตรได้