การศึกษาการยับยั้งแบคทีเรียสายพันธุ์สเตรปโตคอคคัสซูอิสและคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบพรอพอลิสจากชันโรง 3 สายพันธุ์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เนาวาฟ เล๊ะนุ๊, ริฟฮาน วันอิดริส, รัฟฟาน วันอิดริส
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทศพร โสมสิริพันธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หมู หรือ สุกร เป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทย นิยมเลี้ยงตามครัวเรือน เนื่องด้วยหมูเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมทั่วไปคือการคลุกโคลน ซึ่งมักเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งสกปรกหรือจุลินทรีย์ต่าง ๆ หมูจึงมีโอกาสติดเชื้อจุลินทรีย์ได้ ซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรคสู่คนได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับงานปศุสัตว์ ซึ่งหนึ่งในโรคที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปและมีแนวโน้มจำนวนคนติดเชื้อที่ติดต่อมาจากหมูเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันคือโรคไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัสซูอิส ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis (S. suis) ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากการรับประทานหรือสัมผัสกับหมู การป้องกันของเกษตรกรคือการสวมถุงมือ รองเท้าบู๊ด ในระหว่างการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการรักษาความสะอาดหลังสัมผัสหมู แต่การป้องกันนี้เป็นเพียงการป้องกันในเบื้องต้น ซึ่งอาจยังมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ทางคณะผู้จัดทำโครงงานเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้ศึกษาสารสกัดหยาบพรอพอลิสจากชันโรงที่ได้จากธรรมชาติที่คาดว่าจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียสายพันธุ์ที่กล่าวถึงได้
โดยคณะผู้จัดทำคาดหวังในการศึกษาการสกัดสารสกัดหยาบพรอพอลิสด้วยตัวทำละลายชนิดต่าง ๆ จากชันโรงสายพันธุ์ต่าง ๆ การศึกษาความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ของสารสกัดหยาบพรอพอลิส รวมทั้งการศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบเพื่อเป็นองค์ความรู้และเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งในการประยุกต์ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อของโรคในอนาคตได้