โฟมยางพาราดูดน้ำมัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปุณณวิส อรธรรมรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สำอางค์ มีศรี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดที่ติดกับทะเล ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยก็คือคราบน้ำมันในทะเล ที่มักเป็นน้ำมันเครื่องจากเรือของชาวบ้าน และแพขนานยนต์ จึงได้คิดวิธีแก้ไขปัญหาโดยใช้ยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถพบได้ทั่วไปในภาคใต้ เนื่องด้วยน้ำยางเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ มีคุณสมบัติเฉพาะคือความเหนียวและยืดหยุ่น จึงได้นำสมบัติของยางมาใช้ โดยทางผู้จัดทำ ได้เลือกที่จะนำยางพารามาแปรรูปเป็นโฟม โดยทำการศึกษาเทคนิคการตีโฟมยางพารา การVulcanize น้ำยาง และได้เปรียบเทียบอัตราการดูดซับน้ำมันของโฟมยางพารา กับอัตราการดูดซับน้ำของโฟมยางพารา เพื่อพิสูจน์ว่า ยางพาราดูดน้ำมันได้จริง และไม่ดูดน้ำ ซึ่งเป็นสิ่วที่ไม่ต้องการเข้ามา จากการศึกษา พบว่า อัตราการดูดซึมน้ำของยางพาราสูงกว่าอัตราการดูดซึมน้ำมัน จึงได้หาสาเหตุที่ทำให้ผลไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยพบว่า น้ำมันมีความหนืดมากกว่าน้ำ กว่าจะซึมเข้าไปในตัวโฟมยางได้นั้นใช้เวลามาก ส่วนน้ำที่เป็นสารมีขั้วซึ่งไม่ถูกกับยางพารา กลับถูกดูดด้วยปรากฏการณ์ Capillary action ที่มีอิทธิพลมาจากแรง adhesion ของน้ำ เพราะโฟมยางพาราที่ตีมานั้นมีรูขนาดเล็กๆจำนวนมาก เมื่อทราบสาเหตุแล้วจึงได้วางแผนที่จะศึกษาตัวแปรอื่นๆที่ส่งผลต่ออัตราการดูดซึมของโฟมยางพาราต่อไป