แผ่นฟิล์มจากโปรตีนกากถั่วเหลืองเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในเนื้อหมูด้วยสารสกัดหยาบจากใบฝรั่ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปภาวี เชื้อปรางค์, ปัณฑารีย์ ฟักปลั่ง, ณัฐธิชาภรณ์ สิทธิ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วณิชชา หมั่นเรียน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แผ่นฟิล์มจากโปรตีนกากถั่วเหลืองเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในเนื้อหมูด้วยสารสกัดหยาบจากใบฝรั่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในเนื้อหมู ด้วยสารสกัดหยาบจากใบฝรั่ง
เพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในเนื้อหมูของสารสกัดหยาบจากใบฝรั่ง 3) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มจากโปรตีนกากถั่วเหลือง โดยมีวิธีการดำเนินงาน คือ นำใบฝรั่งไปอบให้แห้งแล้วบดให้ละเอียด นำมาสกัดให้ได้สารสกัดหยาบ ปรับความเข้มข้น ให้ได้ความเข้มข้น 100% ,80% ,40% ,20%, 10%, 5%, 2.5% และ 1.25% แล้วนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus วิเคราะห์ผลโดยวัด clear zone ที่เกิดขึ้น จากนั้นนำกากถั่วเหลืองมาสกัดให้ได้โปรตีน และนำโปรตีนที่ได้มาผลิตแผ่นฟิล์มโดยใช้อัตราส่วน อัลจิเนต : โปรตีนกากถั่วเหลือง :
กลีเซอรอล : สารสกัดหยาบจากใบฝรั่ง เท่ากับ 0.3 : 8 : 3 : 2 และนำไปอบ ได้แผ่นฟิล์มนำไปทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในเนื้อหมู โดยนำแผ่นฟิล์มไปห่อหุ้มเนื้อหมู นำมาเปรียบเทียบกับเนื้อหมูที่ไม่มีการห่อหุ้มและเนื้อหมูที่ห่อหุ้มด้วยพลาสติกแรปในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน สังเกตความเปลี่ยนแปลงของเนื้อหมูทุกๆ 1 วัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และ จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเนื้อหมู ผลการศึกษา สกัดหยาบจากใบฝรั่งที่มีความเข้มข้น 100% มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus มากที่สุด รองลงมาคือ 80% , 40% , 20% , 10% และ 5% ตามลำดับ และลักษณะของเนื้อหมูที่มีการห่อหุ้มด้วยแผ่นฟิล์มจากโปรตีนกากถั่วเหลืองเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในเนื้อหมูด้วยสารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในอุณหภูมิห้อง ( 25°C ) เนื้อหมูเริ่มเกิดการเน่าเสียในวันที่ 2 เนื้อหมูที่เก็บในอุณหภูมิแช่เย็น ( 7-10°C ) เนื้อหมูเริ่มเกิดการเน่าเสียในวันที่ 7 และที่อุณหภูมิแช่แข็ง ( <0°C ) เนื้อหมูไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสีและกลิ่น