ผลของนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อการยั้บยั้งโรคแอนแทรคโนสในพริก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณิชาภา ชาวระนอง, ประภาภรณ์ พงหันษา, นันทัชพร ผาอิดดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัตนา รัตนเมธานันท์, รำไพ โพธิ์ไชยแสน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ผลของซิงค์ออกไซด์ต่อการยับยั้งโรคแอนแทรคโนสในพริก จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคแอนแทรคโนสในพริก และสามารถทดแทนการใช้สารเคมีป้องกันโรคที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

โดยการทดลองนำเอาน้ำในอัตราส่วน 1ลิตร มาผสมกับ ซิงค์ออกไซด์(กรัม) ในอัตราส่วนต่างๆ คือ อัตราส่วน 1:1 , 1:2 , 1:3 , 1:4 , 1:5 , และ 1:6 ซึ่งแบ่งการทดลองออกเป็น2ขั้นตอน ดังนี้

ตอนที่1 ทดลองในแปลงปลูก คือการฉีดพ่นสารละลายซิงค์ออกไซด์ สัปดาห์ละ 1ครั้ง เป็นระยะเวลา 8สัปดาห์ โดยจะดูที่ปริมาณผลผลิตพริกสด(กรัม) จากการเก็บพริกทุกๆ 2สัปดาห์ จำนวน 4ครั้ง จากการทดลองจะได้ผลผลิตพริกเฉลี่ยดังนี้

อัตราส่วน

1:1 194.20g

1:2 192.70g

1:3 194.75g

1:4 205.70g

1:5 192.23g

1:6 164.66g

และไม่ใช่ซิงค์ออกไซด์ 14.66g

ตอนที่2

หาปริมาณอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างซิงค์ออกไซด์กับน้ำ ที่ทำให้พริกยังคงสภาพความสดเหมือนเดิมไม่เน่าเสีย โดยทดลองจากการนำพริก100กรัม มาแช่ซิงค์ออกไซด์ในอัตราส่วนต่างๆ จากการทดลองจะได้ผลดังนี้ อัตราส่วน 1:1 คิดเป็นร้อยละ83.37 ,

1:2 คิดเป็นร้อยละ72.91 ,

1:3 คิดเป็นร้อยละ75.25 ,

1:4 คิดเป็นร้อยละ88.37,

1:5 คิดเป็นร้อยละ67.29 ,

1:6 คิดเป็นร้อยละ69.58 ,

และไม่ใช้ซิงค์ออกไซด์ คิดเป็นร้อยละ0 หรือพริกเน่าเสียหมด

จากการทดลองพบว่าอัตราส่วน 1:4 หรือ ซิงค์ออกไซด์จำนวน 0.25 กรัม ผสมกับน้ำ 1 ลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งโรคแอนแทรคโนสในพริกได้สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ88.37 ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการยับยั้งโรคแอนแทรคโนสได้จริง นอกจากนี้ยังเป็นการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย