ผลการใช้ก้างและเกล็ดของปลาต่อปริมาณและคุณภาพของเจลาตินที่สกัดได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิตรกัญญา เต่งทิ้ง, ศิริวรรณ ปาลาสัน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริลักษณ์ ดวงตา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำเจลาตินและเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพของ
เจลาติน จากก้างและเกล็ดของปลา โดยการนำเกล็ดและก้างในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นนำไปแช่ในสารละละสายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 0.2 M เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จึงนำไปสลัดด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเป็นระยะเวลานาน 2.5 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปทำให้เจลาตนบริสุทธิ์ โดยการกรองแล้วนำไปทำให้แห้ง โดยการอบแห้ง จากนั้นเมื่อได้เจลาตินเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงนำไปทดสอบสมบัติทางกายภาพ โดยศึกษาจากสี ความหนืดและระยะเวลาที่ใช้ในการแข็งตัว
จากการทดลองพบว่าเจลาตินที่ได้จากก้างมีปริมาณมากกว่าเจลาตินที่ได้จากเกล็ด สีที่นำทดสอบกับแถบวัดระดับสีผลปรากฏว่าสีของเจลาตินที่ได้จากเกล็ดจะมีสีเข้มกว่าก้างและการทดสอบความหนืดผลปรากฏว่าส่วนของก้างจะมีความหนืดมากกว่าเกล็ด กล่าวโดยสรุปคือเจลาตินที่ได้จากก้างมีสมบัติทางกายภาพที่ดีว่าเจลาตินที่ได้จากเกล็ด