การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ในการทํานายการเกิดโรคหัวใจ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บัรซูน ดอเล๊าะ, นิดาวูด ระเด่นอาหมัด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รอดียา มะนอ, สมพร ช่วยอารีย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของคนไทยและทั่วโลกจากโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาหลักและเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี โรคหัวใจ (heart disease) เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่พบได้มากในคนไทย โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 58,681 คนต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน ซึ่งเป็น 3 อันดับต้นของสาเหตุการตายของประชากรไทยรองจากมะเร็งและโรคเบาหวาน ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ มากมายทั้งในเรื่องของพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน โรคเหล่านี้เกิดมากในผู้สูงอายุของคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) โดยการตรวจโรคเหล่านี้มีวิธีการมากมายในการตรวจสอบ เช่น การตรวจโดยใช้คลื่นเสียง (Echocardiogram) หรือการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Angiography, CTA) แต่วิธีที่ได้รับความนิยมมาก ตรวจสอบได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วที่สุด ด้วยขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก นั้นก็คือการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ Electrocardiogram ( ECG ) เป็นวิธีการที่สามารถให้คำตอบเบื้องต้นรวมถึงให้การวินิจฉัยแก่ผู้มารับการตรวจ โดยการตรวจความผิดปกติของหัวใจโดยวิธีนี้ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขณะที่บีบตัวและคลายตัว โดยกายวิภาคพื้นฐานของหัวใจ (Cardiac anatomy) และจะเกิดเป็นคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถึงแม้ว่าการวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นไฟฟ้าจะเป็นที่นิยม สะดวกและรวดเร็ว แต่การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ก็ยังคงมีข้อจำกัดในการวินิจฉัยโรค นั้นคือจะต้องใช้ความชำนาญจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางในเรื่องนี้เท่านั้น ซึ่งบางครั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาจมีไม่เพียงพอ หรือ การวินิจฉัยในบางครั้งอาจมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้
Artificial intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นกระบวนการประมวลผลที่พัฒนามากในปัจจุบัน และสามารถเรียนรู้ได้มาก รวมถึงสามารถทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างเปรียบเสมือนมนุษย์ในปัจจุบัน (Artificial Neuron Network : ANN) เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) มีรูปแบบโครงสร้างและการทำงานของการประมวลผลเสมือนสมองของสิ่งมีชีวิตสามารถแยกข้อมูลที่มีความแตกต่างน้อยมากจนมนุษย์ไม่สามารถสังเกตได้ ซึ่งหากเราสามารถทำการพัฒนา AI เพื่อทำการทำนายการเกิดโรคและความผิดปกติในเบื้องต้นของกราฟหัวใจ (ECG) และสามารถนำไปใช้ในการช่วยในการลดข้อจำกัดของ ECG และเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคหัวใจ ให้แก่คณะแพทย์ที่มีประสบการณ์ไม่มาก และ ผู้ที่สนใจอื่น ๆ