การศึกษาชนิดของรา Monascus ที่อาจจะส่งผลต่อการสร้างปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ต่างกัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พีรวิชญ์ บุญสมเชื้อ, ภูริพัฒน์ ถัมภ์บรรฑุ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิลันธน์ แสนสุข

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนโรงเรียดรุณสิกขาลัย (โครงการ วมว.)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากรา Monascus มากมายในหลากหลายด้านซึ่งสารเเมทาบอไลต์เเบบทุติยภูมิที่เป็นองค์ประกอบของรงควัตถุสีเเดงที่รา Monascus ปล่อยออกมาตัวหลักๆ ได้เเก่ เมวิโนลิน (mevinlonin หรือ lovastatin)

เเละ ซิตรินิน (Citrinin) ซึ่งอัตราส่วนของสารทั้งสองชนิดนี้มีคุณสมบัติการเพิ่มหรือลดระดับคอเลสเตอรอล (cholesterol) ในกระเเสเลือดโลหิตของคน (กรกต , สุกานดา, คณิต, 2553, น.4) ดังนั้นความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์ของสารทั้งสองชนิดนี้ทำให้ตั้งสมมติฐานได้ว่า ถ้ารา Monascus ต่างสปีชีสามารถเจริญเติบโตในสภาวะที่เหมาะสมแล้วอาจจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริงก็จะตั้งสมมติฐานเพิ่มเติมคือปริมาณกระเเสไฟฟ้าที่ผลิตจากรา Monascus อาจส่งผลมาจากความเข้มข้นของสาร Lovastatin เเละ Citrinin ที่เเตกต่างกัน ซึ่งมีวิธีในการทดลองคือการที่นำข้าวเเดงเเต่ละชนิดเเล้วทำการเเยกราเเต่ละไอโซเลต คือ SU1 , SU2, SU3,SU4,SU5,SU6 เเละ SU7 (อำพรรณ , ธีระดา, 2553-2554, น.47) ด้วยการจำเเนกโดยใช้ลักษณะโคโลนีเป็นเกณฑ์เเล้วทำการเพาะเลี้ยงในข้าวเสาไห้นึ่งฆ่าเชื้อเเล้วทำการปั่นหมุนเหวี่ยงเพื่อให้ตะกอนตกตะกอนเเล้วจึงทำการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสาร Lovastatin เเละ Citrinin โดยใช้เครื่อง HPLC เเบบ RI detector จากนั้นทำการวิเคราะห์ปริมาณกระเเสไฟฟ้าที่รา Monascus เเต่ละไอโซเลตผลิตได้โดยใช้หลักการทำงานของ Microbial Fuel cell