การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อ Actinomycetes ในการยับยั้ง Curvularia sp. สาเหตุของโรคใบจุด Fusarium sp. สาเหตุของโรคเหี่ยว และ Rhizopus sp. สาเหตุของ โรคผลเน่า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มณีรัตน์ ธูปหอม, ชลิดา ทองจันทร์, มณี มณีศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชลาธร วิเชียรรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
ปัญหาทางการเกษตรที่เกิดจากเชื้อรา Curvularia sp., Fusarium sp. และ Rhizopus sp. ซึ่งส่งผลต่อ
เศรษฐกิจของประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ต้นพืชหยุดการเจริญเติบโต เชื้อ Actinomycetes มีบทบาท
สามารถสร้างสารปฏิชีวนะเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Curvularia sp., Fusarium sp. และ Rhizopus sp.
โครงงานนี้ได้นำเชื้อ Actinomycetes ไปประยุกต์ใช้ตามสัณฐานวิทยาศาสตร์จึงน่าจะมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งจาก
ข้อมูลพื้นฐานการทดลองจะนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อรา Curvularia sp., Fusarium
sp. และ Rhizopus sp. ในพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย โครงงานนี้จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเชื้อ
Actinomycetes ที่ช่วยยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp. ที่ก่อให้เกิดโรคใบจุดในพืชตระกูลกะหล่ำ Fusarium sp. ที่
ก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในพืชตระกูล Solanaceae (พริก) และแตง และ Rhizopus sp. ที่ก่อให้เกิดโรคผลเน่า ด้วยการ
คัดเลือกเชื้อจากดิน 6 แหล่ง ทำการเตรียมสารแขวนลอยดินเจือจาง (Soil serial dilution) จากนั้นทำการ spread
plate โดยปิเปตต์สารละลายดินเจือจางที่ระดับความเข้มข้น 10-4, ถึง 10-9 อย่างละ 0.1 มิลลิลิตร ลงบนอาหาร
potato dextrose agar แล้วกระจายเชื้อด้วยวิธีspread plate คัดแยกเชื้อด้วยวิธีcross streak plate เชื้อที่ผ่าน
คัดแยกจะทำการทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp. , Fusarium sp. และ Rhizopus sp.
โดยนำ Actinomycetes มาขีดเส้นลงในเพลทในแนวรัศมีและตัดชิ้นวุ้นอาหารเลี้ยง potato dextrose agar เป็นชิ้น
สี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 ชิ้น วางขนานกับ Actinomycetes โดยทั้ง 2 ชิ้น ห่างกันประมาณ 8 ซม. หลังจากนั้น นำ loop ไป
แตะเชื้อราแล้วนำไปป้ายทั้งสี่ด้านของวุ้น นำไปบ่มที่อุณหภูมิ30 องศาเซลเซียส หลังจากบ่มไว้7 วัน ทำการวัดขนาด
clear zone ของเชื้อรา Curvularia sp., Fusarium sp. และ Rhizopus sp. ที่เกิดบนอาหารแข็ง ทำการ
เปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดของอาหารแข็ง จากนั้นวิเคราะห์ตามสัดส่วน ผลการทดลอง พบว่า การคัดแยกเชื้อด้วย
วิธีcross streak plate ได้เชื้อ Actinomycetes จำนวน 21 ไอโซเลท โครงงานจึงกำหนดโค้ดบนเชื้อ
Actinomycetes ทั้ง 21 ไอโซเลท เป็น ก31 ก32 ก33 ก36 ก37 ก39 ก41 ก44 ข12 ข13 ข14 ข17 ข25 ข27 ช27
น2 น5 ท21 ท22 ท23 และ ท24 เมื่อคำนวนถึงประสิทธิภาพการยับยั้งของเชื้อ Actinomycetes ในการยับยั้งการ