สายรัดข้อมืออัจฉริยะ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริอาภา ปันทุราภรณ์, สิริปภา ปันทุราภรณ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะ ไชยอ้าย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากรอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านโครงสร้างอายุของประชากร ที่มีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ถือว่าเป็นประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องรับมือ โดยจำเป็นจะต้องตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุขัยที่ยาวนานขึ้นตลอดจนการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่ดีขึ้น
ในปัจจุบันเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ได้เริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกขณะ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้พัฒนาได้เล็งเห็นประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ จึงมีแนวคิดที่จะประยุกต์การใช้งานอุปกรณ์ IoT เพื่อให้ส่งข้อความขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุผ่านอุปกรณ์ IoT โดยได้คิดประดิษฐ์เป็นสายรัดข้อมืออัจฉริยะ และใช้ชุดพัฒนาเพื่อการศึกษา Arduino NodeMCU ร่วมกับ Zigbee module สร้างเป็น Zigbee gateway ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ในที่นี้คือปุ่มกดไร้สาย (Smart wireless switch) ซึ่งใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ Zigbee ส่งออกไปยัง Line server เพื่อให้มีการส่งข้อความผ่านทางโปรแกรม Line ไปยังห้องสนทนาในรูปแบบ Line notify ซึ่งในโครงงานนี้จะทำการส่งข้อความขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุที่สวมใส่สายรัดข้อมืออัจฉริยะนี้ ไปยังห้องสนทนาของลูก-หลาน ญาติ และผู้ใกล้ชิด แจ้งเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุภายในบ้าน หรือความต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ หลังจากที่สร้าง Zigbee gateway และทำการเขียนโปรแกรมให้ทำงานตามที่วางแผนไว้ ได้ทำการทดลองใช้งานบ้านพบว่าสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีอุปกรณ์ Zigbee gateway สามารถรับข้อมูลจากปุ่มกดไร้สาย ได้ทุกจุดภายในบ้านและพื้นที่รอบๆ และพบว่าสัญญาณ Zigbee สามารถส่งผ่านผนังคอนกรีตได้ที่ 4 ชั้นโดยที่ไม่เกิดความผิดพลาดของการรับข้อมูล นอกจากนี้ยังให้ผู้สูงอายุ 4 ช่วงอายุทำการทดสอบการกดปุ่มกดไร้สายซึ่งก็พบว่าการกดปุ่ม 1 ครั้งมีการส่งข้อมูลเข้ามาให้ห้องสนทยา Line ทุกครั้งสมาชิกในห้องสนทนาสามารถรับทราบข้อความต่างๆ ที่แจ้งเข้ามาในห้องสนทนาได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังทราบประวัติ วัน-เวลา การใช้งานได้ด้วย
ผู้พัฒนาสามารถสรุปได้ว่าระบบทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ นอกจากนี้ผู้พัฒนาได้เล็งเห็นประโยชน์จากการใช้งานและการประยุกต์การใช้งานอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้มาตราฐานการเชื่อมต่อแบบ Zigbee จำหน่ายมในท้องตลาดมากขึ้นและมีราคาไม่สูง เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น เซ็นเซอร์ตรวจจับพื้นเปียก เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นไหว และเซ็นเซอร์ตรวจจับการเปิด-ปิดประตูหรือหน้าต่าง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นมานี้สามารถใช้ได้จริง ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน มีความเชื่อถือได้สูง และมีต้นทุนในการผลิตต่ำ จึงน่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างประโยชน์ให้เกิดกับผู้คนทั่วไป และเป็นกรณีใช้งาน (Use case) อีกตัวอย่างหนึ่งของการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในชีวิตประจำวัน